x close

ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของจุดซ่อนเร้น


         
          ตามธรรมชาตินั้น จุดซ่อนเร้นเป็นบริเวณที่มีแบคทีเรียชนิดดีในตระกูล Lactobacillus อาศัยอยู่ แบคทีเรียชนิดนี้ทำหน้าที่สร้างกรดแลคติก เพื่อทำให้บริเวณจุดซ่อนเร้นมีสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ (pH3.8-4.5) ซึ่งสภาพความกรดอ่อน ๆ ดังกล่าว จะควบคุมไม่ให้เชื้อรา ยีสต์ และแบคทีเรียชนิดอันตรายที่ก่อโรค เจริญเติบโตได้ง่าย
หากสภาพกรดอ่อนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้กลไกการควบคุมเชื้อโรคตามธรรมชาตินั้นเสียไปด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่การระคายเคือง คัน เจ็บ เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์จากแบคทีเรียชนิดไม่ดีที่เพิ่มจำนวนขึ้น ตลอดจนอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อบริเวณจุดซ่อนเร้นตามมาได้ 


อย่างไรก็ดี สภาวะบางประการ อาจทำให้สมดุลตามธรรมชาติดังกล่าวนั้นเสียไป เช่น

           การมีประจำเดือน เนื่องจากเลือดที่ออกจากร่างกายมีค่าความเป็นด่างสูงกว่าสภาพตามธรรมชาติของจุดซ่อนเร้นอย่างมาก (pH7.4) จึงไปลดสภาพความเป็นกรดของจุดซ่อนเร้น แบคทีเรียชนิดอื่น ๆ จึงเพิ่มจำนวนขึ้น แล้วนำไปสู่กลิ่นที่ผิดปกติได้

           การมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากน้ำอสุจิมีความเป็นด่างเล็กน้อย (pH 7.2-8) เมื่อตกค้างอยู่ในช่องคลอดจะไปลดสภาพความเป็นกรดตามธรรมชาติของจุดซ่อนเร้นเช่นเดียวกัน

           การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน จะไปทำลายแบคทีเรียตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่ที่บริเวณจุดซ่อนเร้น ทำให้การสร้างกรดแลคติกตามธรรมชาติลดลง

           การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้ความเป็นกรดของบริเวณจุดซ่อนเร้นเปลี่ยนไปด้วย โดยจะมีความเป็นด่างมากขึ้น (pH 6-7.5 )

          ดังนั้น การพยายามรักษาสมดุลตามธรรมชาติที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนของบริเวณจุดซ่อนเร้นในทุกๆวัน จึงเป็นสิ่งสำคัญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น วิธีการง่าย ๆ ที่จะช่วยรักษาและฟื้นฟูสมดุลของจุดซ้อนเร้นได้ คือ การทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนซึ่งตรงกับสภาพตามธรรมชาติของจุดซ่อนเร้นนั่นเอง หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และหากเกิดอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาที่เหมาะสมต่อไป



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของจุดซ่อนเร้น โพสต์เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558 เวลา 17:03:37 9,675 อ่าน
TOP