x close

วิทยาการใหม่ที่ไม่ต้องผ่าตัด เพื่อรักษาอาการเหงื่อออกเยอะ

ศัลยกรรม



เรียบเรียงงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          อาการเหงื่อออกเยอะ หรือ ไฮเปอร์ไฮโดรซิส (Hyperhidrosis) โดยเฉพาะบริเวณใต้วงแขน สร้างความยากลำบากแก่ชีวิตประจำวันของผู้ที่ต้องประสบอาการนี้ไม่น้อย เนื่องจากเหงื่อออกมาจนชุ่มเสื้อผ้า ดูสกปรก และทำให้กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์อีกด้วย ทางออกเพื่อการรักษาอาการเหงื่อออกมากผิดปกติในยุคก่อนนั้น ทำอย่างตรงตัวด้วยการผ่าตัดเอาต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนังออก แต่ในสมัยนี้ก็มีทางเลือกใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาและไม่ต้องอาศัยการผ่าตัดอีกต่อไป อย่างการฉีดสาร โบท็อกซ์ เข้าไปที่ใต้วงแขน ซึ่งสารนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการส่งกระแสประสาทจากเส้นประสาทไปยังต่อมเหงื่อ ทำให้ต่อมเหงื่อผลิตเหงื่อน้อยลงนั่นเอง

          แต่ในตอนนี้ วิทยาการเพื่อการแก้ไขอาการเหงื่อออกมากเกินปกติที่ไม่ต้องอาศัยการผ่าตัด ก็มีเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งวิธี ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "ไมร่าดราย" (miraDry)  โดยวิธีการนี้อาศัยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างคลื่นไมโครเวฟทำให้เกิดความร้อนจากภายในออกมาภายนอก เมื่อเดินเครื่องไมร่าเหนือบริเวณรักแร้หรือบริเวณที่มีอาการเหงื่อออกมากเกินปกติ เครื่องจะปล่อยคลื่นไมโครเวฟเข้าไปยังต่อมเหงื่อ ทำให้เกิดความร้อน และเป็นการทำลายต่อมเหงื่อไปโดยอัตโนมัติ ในขณะที่เทคโนโลยีของเครื่องมือนี้ก็จะหล่อเลี้ยงผิวหนังชั้นนอกให้เย็น จึงไม่ให้รู้สึกไม่เจ็บปวดนักระหว่างการทำ

          แต่เนื่องด้วยยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ จึงยังไม่มีการพูดถึงประสิทธิภาพของ ไมร่าดราย มากนัก และยังไม่สามารถเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่าง ไมร่าดราย และ โบท็อกซ์ ได้ ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นการรวบรวมข้อด้อยของไม่ร่าดรายเมื่อเทียบกับบการทำโบท้อกซ์ แบบคร่าว ๆ จากเว็บไซต์ beautywithouttheblade.com ค่ะ

     จุดเด่น

          1. สามารถกำหนดบริเวณได้แม่นยำกว่าการทำโบท็อกซ์ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้วางบนผิวหนังโดยตรง

          2. เจ็บน้อยกว่าการทำโบท็อกซ์ เพราะก่อนหน้ากระบวนการมีจะต้องฉีดยาชาเพื่อเตรียมพื้นผิวบริเวณนั้นก่อน

          3. ได้ผลถาวร เมื่อต่อมเหงื่อถูกทำลายด้วยความร้อนแล้ว ตามหลักการจึงเป็นการรักษาอาการเหงื่อออกมากเกินปกติอย่างถาวร

     จุดด้อย

          1. ต้องกลับไปทำซ้ำราว 2-3 รอบ จึงจะปรากฏผลที่น่าพอใจ

          2. ผลหลังการทำยังไม่สามารถยืนยันประสิทธิภาพใด ๆ ได้มากนัก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่มีคนทำมากนัก

          3. แพงกว่าการทำโบท็อกซ์

          4. ยากจะหาผู้ประกอบการ เนื่องจากเพิ่งเริ่มเป็นที่รู้จักในปี 2011 ที่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น


          วิทยาการตัวนี้จะก้าวหน้า และได้รับควานิยมมากแค่ไหนในกลุ่มผู้ที่ประสบปัญหาเหงื่อออกมากผิดปกติ ก็ต้องติดตามกันดูต่อไป














เรื่องที่คุณอาจสนใจ
วิทยาการใหม่ที่ไม่ต้องผ่าตัด เพื่อรักษาอาการเหงื่อออกเยอะ อัปเดตล่าสุด 20 มีนาคม 2555 เวลา 17:03:24 1,565 อ่าน
TOP