x close

รู้จักกับ ยาย้อมผม

 ยาย้อมผม

History of Color
(Hairworld)

         เมื่อฉบับที่ 14 ผมได้นำเสนอเกี่ยวกับความเป็นมาของการย้อมสีผมและการแบ่งประเภทยาย้อมผมกันพอสังเขปแล้ว ฉบับนี้มารู้จักผลิตภัณฑ์ย้อมผมที่มีขายทั่วไปในท้องตลาด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

         1. ยาย้อมผมชนิดชั่วคราว มีส่วนประกอบของสีที่รับรองแล้วมีขนาดโมเลกุลใหญ่ สีนี้เคลือบบนชั้นนอกของเส้นผมมักจะล้างออกหลังจากสระผมด้วยแชมพูครั้งแรก หรือครั้งที่ 2 ผลิตภัณฑ์ทางการค้า ได้แก่

         คัลเลอร์ รินส์ (Color Rinse) มีหลักการใช้โดยสระผมเสร็จแล้วซับน้ำให้แห้ง ทาคัลเลอร์ รินส์ ลงบนเส้นผม อาจเริ่มจากผมบริเวณท้ายทอย หวีหรือแปรงให้ทั่ว ไม่ต้องล้างออก หรืออาจทิ้งไว้ประมาณ 2-5 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามวิธีใช้ของแต่ละยี่ห้อด้วย

         ดินสอทาสีผม (Hair Crayons) ใช้สำหรับปกปิดเส้นผมที่เริ่มหงอก หรือตกแต่งผมที่งอกออกมาใหม่หลังการย้อม วิธีการใช้ทำโดยให้ปลายของแท่งดินสอนี้เปียกน้ำแล้วทาตลอดบนเส้นผมหงอก เริ่มตั้งแต่หนังศีรษะ เนื่องจากดินสอทาสีผมประกอบด้วยไขมัน ดังนั้นการย้อมผมครั้งต่อไปต้องแน่ใจว่าล้างเอาไขมันออกจากเส้นผมจนหมดแล้ว
สีพ่นสำหรับผม (Color Sprays) มักบรรจุในกระป๋องฉีดพ่นมีสีเงิน สีทอง สำหรับใช้ในกรณีพิเศษ

         2. ยาย้อนผมชนิดกึ่งถาวร มีส่วนประกอบเป็นสีซึ่งมีขนาดโมเลกุลเล็ก สามารถซึมเข้าไปถึงชั้นกลางเส้นผมได้ สีจะคงทนได้นาน 3-5 อาทิตย์ ขณะนี้กำลังเริ่มจะเป็นที่นิยม ได้แก่ แชมพูย้อมสีผม โลชั่นโฟมย้อมสีผม

         3. ยาย้อมผมชนิดถาวรติดทนบนเส้นผมอย่างถาวร ทนทานต่อการสระด้วยแชมพู การแปรงและอื่นๆ

         3.1. ยาเคลือบสีผม (Coating Tints) สีจะสะสมบนชั้นนอกของเส้นผมเท่านั้น แบ่งออกเป็น

         3.1.1. สมุนไพรย้อมผม (Vegetable Dyes) สีจะเคลือบติดบนเส้นผมคงทน โดยมีผลต่อชั้นนอกสุดของเส้นผม แต่ไม่เปลี่ยนโครงสร้างของเส้นผม ได้แก่ ยาย้อมผมที่มีส่วนผสมของใบจากต้นเฮนนา ให้สีทองและสีแดง

         3.1.2. เกลือโลหะย้อมผม (Metallic Dyes) ได้แก่ ยาเคลือบผมที่มีส่วนประกอบของตะกั่วอะชีเตต เชื่อว่าเกิดปฏิกิริยาระหว่างตะกั่วอะชีเตตและซัลเฟอร์ในเคราติน ทำให้เกิดตะกั่วซัลไฟค์เคลือบติดบนเส้นผม ต้องทาซ้ำเพื่อให้ได้สีตามต้องการ

         3.1.3. สีผสม (Compounds Dyes) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรย้อมผมและเกลือโลหะย้อมผม

         3.2. ยาย้อมผมชนิดซึมเข้าในเส้นผม ประกอบด้วยน้ำยาว 2 ขวด

         ขวดที่ 1 อาจเป็นของเหลวหรือครีม มีสารออกฤทธิ์สำคัญ คือ สีออกซิเดชั่น หรือที่เรียกว่าสีพารา อยู่ในสภาวะด่าง ซึ่งโดยมากใช้แอมโมเนียความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 8-11 ด่างจะช่วยในส่วนชั้นนอกของเส้นให้ผมบวมและพองขึ้นมาก ทำให้สีซึมเข้าไปอยู่ในเส้นผม แต่หากเป็นด่างมากจะเป็นอันตรายต่อเส้นผม เพราะด่างสามารถละลายส่วนชั้นนอกของเส้นผมบางส่วน ทำให้เส้นผมหยาบกระด้าง นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผึง เพื่อช่วยให้สีย้อมผมซึมเข้าไปในเส้นผมได้ดี และอาจประกอบด้วยสารที่ทำให้ข้นเพื่อป้องกันสีย้อมผมไหลออกจากเส้นผม เป็นต้น สีออกซิเดชั่นที่นิยมใช้ในยาย้อมผมในตลาดเมืองไทยคือ พาราฟีนีรีนไดอะมีนและพาราโทลูอีนไดอะมีน

         ขวดที่ 2 เรียกกันทั่วไปว่าน้ำยาโกรก นิยมใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3%, 6%, 9% และ 12% ซึ่งแบ่งผลิตเป็นสองแบบ คือ ชนิดของเหลวใสและชนิดที่เป็นครีม โดยการเติมสารที่ช่วยให้ข้น สารช่วยปรับสภาวะเส้นผม ต้องผสมน้ำยาขวดที่ 1 และขวดที่ 2 ทันทีก่อนใช้ย้อมผม เมื่อผสมกันไฮโดรเจนเปรอืออกไซด์จะปล่อยออกซิเจนอิสระ ซึ่งจะออกซิไดซ์สีพารา ทำให้เกิดสีย้อมติดกับผม



ขอขอบคุณข้อมูลจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รู้จักกับ ยาย้อมผม อัปเดตล่าสุด 3 สิงหาคม 2552 เวลา 16:10:06
TOP