x close

เลเซอร์ผิวหนัง... เพื่อความงาม

ศัลยกรรม

เลเซอร์ผิวหนัง... เพื่อความงาม
 (หนังสือสวยด้วยแพทย์)

        ปัจจุบันแพทย์ผิวหนังนิยมใช้ "เครื่องมือเลเซอร์" ในการรักษาภาวะต่างๆ ทางผิวหนังหลายๆ ท่านอาจสงสัยว่า เลเซอร์ 1เครื่องสามารถรักษาภาวะทางผิวหนังได้ทุกประเภทหรือไม่หรืออาจสงสัยว่าเลเซอร์แต่ละชนิดให้การรักษาภาวะทางผิวหนังเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

       วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันดีกว่านะคะ คำว่า เลเซอร์ (LASER)นั้นมาจากคำย่อภาษาอังกฤษว่า Light Amplification by the StimulatedEmission of Radiationเลเซอร์แต่ละชนิดจะมีต้นกำเนิดของพลังงานลำแสงที่แตกต่างกันเมื่อนำมาใช้ในการรักษาภาวะทางผิวหนังจึงต้องเลือกชนิดของเลเซอร์ให้เหมาะสมโดยพิจารณาดูจากคลื่นแสง, ความถี่และปริมาณพลังงานลำแสงของเครื่องเลเซอร์นั้นๆ

       ในการใช้เครื่องเลเซอร์แต่ละชนิดในการรักษาบางชนิดอาจทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง แต่บางชนิดไม่ทำให้เกิดแผลดังนั้นการดูแลผิวหนังหลังการรักษาด้วยเลเซอร์แต่ละชนิดจึงแตกต่างกัน

        ถึงตอนนี้แล้ว คุณผู้อ่านคงอยากทราบแล้วสินะคะว่าเลเซอร์ชนิดไหนมีคุณสมบัติในการรักษาอย่างไร ถ้าเช่นนั้นมาดูกันเลยค่ะ

เลเซอร์

ใช้รักษา

ข้อควรทราบ

คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (CO2 laser)

ไฝ,ขี้แมลงวัน,กระเนื้อ,ติ่งเนื้อ,หูด, เนื้องอกของต่อมเหงื่อ (สิวหิน), ต่อมไขมันโต

- ต้องทาครีมยาชาหรือฉีดยาชาก่อนการรักษา

- หลังรับการรักษาจะมีแผลซึ่งจะแห้งและตกสะเก็ดภายใน 1-2 สัปดาห์

- ควรหลีกเลี่ยงเครื่องสำอาง หรือทาครีมบนแผลจนกว่าสะเก็ดจะหลุด

- ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดหลังทำการรักษา

Nd-YAG laser

ลบรอยสักคิ้ว,รอยสักต่างๆ กระ,กระแดด ปานโอตะ ลดรอยคล้ำริมฝีปาก, หัวนม

คูลไกลด์เลเซอร์ (Cool Glide Laser)

-กำจัดขนตามที่ต่างๆ เช่น หนวด, เครา, รักแร้, หน้าแข้ง, Bikini line, ขนในที่ลับ

- เส้นเลือดฝอยเล็กๆ ที่ใบหน้า

 

- ลดริ้วรอยที่ใบหน้า,ลดรูขุมขนกว้าง (Rejuvenation)

1. ต้องทาครีมยาชาก่อนการรักษา

2. ไม่มีแผลหลังการรักษา

 

อาจมีรอยชาเล็กน้อยหลังการรักษา ซึ่งจะหายได้ภายใน 7-10 วัน

1. ไม่ต้องใช้ยาชา ไม่เจ็บ ไม่เกิดแผล

2. ช่วงทำการรักษาจะรู้สึกอุ่นๆ ที่ใบหน้า

ARAMIS laser

รอยบุ๋มจากแผลเป็น, แผลจากสิวและสุกใส

เพื่อให้การรักษาได้ผลดี แพทย์อาจรักษาร่วมกับการใช้เข็มสะกิดใต้ผิวหนัง (Subcision) เพื่อกระตุ้นการสร้างเส้นใยคอลลาเจน



    เลเซอร์ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของเครื่องเลเซอร์ที่ได้รับความนิยมจากแพทย์ผิวหนังเนื่องจากมีความปลอดภัย และผลข้างเคียงต่ำ อย่างไรก็ดี ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อให้คำปรึกษาก่อนตัดสินใจรับการรักษานะคะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือสวยด้วยแพทย์
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เลเซอร์ผิวหนัง... เพื่อความงาม อัปเดตล่าสุด 23 กรกฎาคม 2552 เวลา 00:23:32
TOP