10 นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก


10 นักวิทยาศาสตร์ที่เก่งที่สุดในโลก หากใครยังไม่รู้จักพวกเธอ ไปดูกันเลย


ใครคือ 10 นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก ?
(woman plus)

          สมัยเราเรียน เราก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า นักวิทยาศาสตร์ เป็นบุคคลที่สุดยอดม๊ากกกกกก ! ถ้าใครเคยผ่านวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ มาได้ก็พอจะรู้ว่ามันยากขนาดไหน แต่ก็ไม่ทำให้เธอเหล่านี้หวาดหวั่น เพราะเธอคือ 10 นักวิทยาศาสตร์ที่เก่งที่สุดในโลก หากใครยังไม่รู้จักพวกเธอ วันนี้ Woman Plus เอามาฝากค่ะ

Marie Curie

อับดับที่ 1 Marie Curie

          มารี กูรี ชาวโปแลนด์ เป็นนักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูรี ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน

Maria Goeppert-Mayer

อับดับที่ 2 Maria Goeppert-Mayer

          Maria Gertrude Kate Goeppert เป็นชื่อเต็มในวัยเด็กของ Maria Mayer ชาวเยอรมันผู้มีผมสีบลอนด์ ตาสีฟ้า มีนิสัยเคร่งขรึม และชอบอ่านหนังสือ มีประวัติการเรียนในเรื่องความสามารถด้านภาษาและคณิตศาสตร์ นอกจากจะมีชื่อเสียงด้านการวิจัยคณิตศาสตร์แล้ว การวิจัยด้านฟิสิกส์ทฤษฎีของที่นี่ก็โด่งดังไม่แพ้กัน เธอจึงอุทิศตัวเรียนฟิสิกส์จนสำเร็จปริญญาระดับดุษฎีบัณฑิต

Trotula of Salerno

อับดับที่ 3 Trotula of Salerno

          Trotula of Salerno ชาวอิตาลี หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์หญิงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของศตวรรษที่ 11 Trotula เขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับการแพทย์และสุขภาพของสตรี เป็นที่เชื่อกันว่าเธอเป็นหนึ่งในแพทย์ของ Salerno (โรงเรียนแพทย์ Salerno) และเธอยังมีส่วนสำคัญในการร่วมสร้างความรู้ทางการแพทย์

Virginia Apgar

อับดับที่ 4 Virginia Apgar

          Virginia Apgar แพทย์หญิงชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง เธอเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะผู้บุกเบิกของในการใช้ "Apgar Score" มันคือเกณฑ์การวัดความสมบูรณ์ของทารกแรกเกิด ซึ่งสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กลงได้อย่างมหาศาล

Rachel Carson

อับดับที่ 5 Rachel Carson

          ราเชล หลุยส์ คาร์สัน ชาวอเมริกัน นักธรรมชาติวิทยาและนักรณรงค์ เธอมีผลงานเขียนออกมามากมาย โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับชีววิทยาทางทะเลส่งอิทธิพลสูงมาก หนังสือเล่มสำคัญชื่อ ความเงียบสงัดในฤดูใบไม้ผลิ (The Silent Spring) ได้สร้างผลกระทบสูงสุดต่อสาธารณชนในด้านการตระหนักถึงผลกระทบและภัยของยาฆ่าแมลงที่ใช้มากในภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ ส่งผลให้มีการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางไปทั่วสหรัฐฯ และทั่วโลกโดยมีราเชลเป็นผู้นำคนสำคัญ เป็นผลให้ริชาร์ด นิกสัน ต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมในระดับชาติในปี พ.ศ. 2512

          ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานในลักษณะเดียวกันคือ สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2515 หนังสือชื่อ The Silent Spring ได้รับการจัดเป็นหนังสือ 1 ใน 100 เล่มที่ดีที่สุดของโลกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สภาวิจัยแห่งชาติได้จัดแปลหนังสือเล่มนี้มานานก่อนหน้านี้ โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า เงามฤตยู

Gertrude Belle Elion

อันดับที่ 6 Gertrude Belle Elion

          Gertrude B. Elion นักวิทยาศาสตร์หญิงชาวอเมริกัน ผู้มากความสามารถผลงานของเธอหลายชิ้นนับเป็นคุณประโยชน์แก่วงการแพทย์อย่างมากเธอเป็นเจ้าของรางวัลโนเบลในปี 1988 เธอไม่ได้จบการศึกษาในระดับปริญญาเอก แต่ผลงานของเธอเป็นสิ่งยืนยันความสามารถได้เป็นอย่างดี

Jane Goodall

อันดับที่ 7 Jane Goodall

          เจน กูดดอลล์ นักสัตววิทยา มานุษยวิทยาและวานรวิทยาชาวอังกฤษ มีชื่อเสียงจากโครงการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมและครอบครัวของชิมแปนซี ที่อุทยานแห่งชาติกอมเบ สตรีม ประเทศแทนซาเนีย โดยเริ่มจากการเป็นผู้ช่วยของ ดร.หลุยส์ ลีกคี นักบรรพชีวินวิทยาชื่อดังชาวเคนยา

          เธอเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันเจน กูดดอลล์เพื่อสนับสนุนการวิจัย ปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัย และป้องกันชิมแปนซีจากการถูกล่า เธอได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ "Dame Commander of the British Empire" จากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2547 และได้รับจากการแต่งตั้งจากองค์การสหประชาชาติโดยนายโคฟี อันนัน ให้เป็นทูตสันติภาพ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 กูดดอลล์ เป็นที่รู้จักว่าเป็นหนึ่งในสาม "นางฟ้าของลีกคี" (Leaky’s Angels) เป็นฉายาที่ตั้งเลียนแบบรายการโทรทัศน์ "นางฟ้าชาร์ลี" (Charlie’s Angels) ที่โด่งดังช่วงปี พ.ศ. 2519-2524 ร่วมกับไดแอน ฟอสซีย์ ซึ่งศึกษาเรื่องกอริลลา และบีรูเต กัลดีกัส ซึ่งศึกษาเรื่องอุรังอุตัง

เอดา ไบรอน เลิฟเลซ

อันดับที่ 8 Ada Lovelace

          เอดา ไบรอน เลิฟเลซ ชาวอังกฤษ เธอคือโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เธอถูกเลี้ยงให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่และให้ศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ต่างไปจากกุลสตรีในตระกูลใหญ่ ๆ ของอังกฤษทั่วไป

          เธอสนใจแนวคิดนี้ของ ชาร์ลส แบบเบจ ว่า "what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight" (จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย) จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือ การสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของแบบเบจ หลังจากที่เธอแต่งงานทั้งเอดาและแบบเบจ ยังเป็นเพื่อนกันทางจดหมาย และแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเครื่องวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ

          โดยจดหมายของทั้งสองถูกเก็บไว้อย่างดีในยุคนี้ เพราะมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย (ทั้งเรื่องจริง และจินตนาการ) เช่น เอดาบอกว่า เธอเชื่อว่าต่อไปเครื่องมืออันนี้ จะมีความสามารถที่จะแต่งเพลงที่ซับซ้อน สร้างภาพกราฟิก นำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้ ในจดหมายฉบับหนึ่ง เอดาแนะนำแบบเบจว่า ให้ลองเขียนแผนการทำงานของเครื่องมืออันนี้ ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา ต่อมาแผนการทำงานที่แบบเบจเขียนขึ้นมาชิ้นนั้น ก็ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก เธอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

          ต่อมา ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เลดี้ เอดา ว่า ภาษา "ADA" ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เอดาได้รู้จัก และอาสาช่วยงาน พร้อมทั้งอุปการะ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ รวมทั้งนักเขียนหลายคน เช่น Sir David Brewster คนคิดคาไลโดสโคป, ชาร์ลส วีทสโตน, ชาร์ลส ดิกเก้นส์, และ ไมเคิล ฟาราเดย์

Rosalind Franklin

อันดับที่ 9 Rosalind Franklin

          Rosalind Elsie Franklin เป็นนักฟิสิกส์-เคมี และ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของ DNA จากการหักเหของรังสี x-ray "โรสลิน" ได้ศึกษา DNA จากการหักเหของรังสี x-ray พบว่ามีรูปร่างเป็นเกลียวหรือเป็นวงก้นหอย (helical) โดยมีกลุ่มฟอตเฟตเป็นตัวจับเข้าหากันอยู่นอกเกลียวนี้ "โรสลิน" ทำงานร่วมกับ มัวริส วิลคินส์ เริ่มได้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างของดีเอนเอจากการทำทดลอง โดยอาศัยเทคนิคเอกซเรย์ คริสตัลโลกราฟี (x-rays crystallography) พวกเขาคำนวณจากภาพฟิล์มเอกซเรย์ และพบว่า ดีเอนเอน่าจะจับกันมากกว่าหนึ่งสาย และมีโครงสร้างเป็นรูปซ้ำ ๆ นอกจากนี้ ยังอาจจะมีรูปแบบการจับกันมากกว่าหนึ่งแบบอีกด้วย

Anita Roberts

อันดับที่ 10 Anita Roberts

          Anita Roberts ชาวอเมริกัน เธอทำให้พบลักษณะที่ซ่อนอยู่ของโปรตีน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาบาดแผลและกระดูกหัก




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
10 นักวิทยาศาสตร์หญิงที่เก่งที่สุดในโลก อัปเดตล่าสุด 6 ตุลาคม 2557 เวลา 15:51:39 52,033 อ่าน
TOP
x close