อยากเป็นพยาบาลต้องเตรียมตัวอย่างไร มาดู 7 เรื่องที่ควรรู้ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเริ่มต้นเดินตามความฝัน สำหรับใครที่อยากเป็นพยาบาลบอกเลยว่าไม่ควรพลาด ถ้าพร้อมแล้ว ก็ตามมาดูกันเลย
![พยาบาล พยาบาล]()
พยาบาลเป็นหนึ่งในอาชีพในฝันของใครหลาย ๆ คน เพราะนอกจากจะเป็นอาชีพที่มั่นคงแล้ว ยังได้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเหนื่อย และความอดทน ไม่ใช่แค่ใส่ชุดยูนิฟอร์มสวย ๆ นั่งทำงานสบาย ๆ อย่างที่ทุกคนคิด เนื่องจากหน้าที่หลักของพยาบาลคือต้องดูแลผู้ป่วยในทุก ๆ เรื่อง ตั้งแต่การทำแผล ฉีดยา คอยเฝ้าดูอาการ และอีกมากมาย ดังนั้น สำหรับใครที่อยากทำอาชีพนี้จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงแนวทางการศึกษาต่อวิชาชีพพยาบาล โดยหลายคนเกิดคำถามว่า อยากเป็นพยาบาลต้องทำอย่างไร และต้องเรียนสาขาอะไร วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปหาคำตอบ พร้อมแนะแนวทางก่อนเริ่มต้นเดินตามความฝันสู่อาชีพพยาบาลกันค่ะ
1. คุณสมบัติพยาบาล ต้องมีอะไรบ้าง
หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ถือด่านแรกของการเป็นพยาบาล หากไม่ตรงตามข้อใดข้อหนึ่งก็อาจทำให้ไม่มีสิทธิ์เข้าเรียนในสาขาวิชาชีพนี้เลยก็ว่าได้
1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 แผนการเรียนสายวิทย์-คณิต
2. เพศชาย/หญิง อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี
3. น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 40 กิโลกรัม ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
4. มีสัญชาติไทย หรือนักศึกษาต่างชาติที่เข้าใจภาษาไทยได้อย่างดี (ในบางมหาวิทยาลัย)
5. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกาย จิตใจ และปราศจากโรคติดต่อร้ายแรง หรือมีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น โรคลมชัก, โรคเรื้อน, หูหนวก, ตาบอด และตาบอดสี เป็นต้น
![พยา พยา]()
2. สอบพยาบาลต้องทำอย่างไร ?
สำหรับการสอบคัดเลือกหลัก ๆ มี 2 รอบ รอบแรกคือรอบรับตรง และโควต้า ซึ่งเป็นการจัดสอบของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาตามสาขาที่เลือกโดยไม่ต้องผ่านระบบสอบกลาง หรือที่เรียกว่าแอดมิชชั่น (Admission)
ส่วนรอบที่สองเป็นการสอบผ่านระบบสอบกลางหรือแอดมิชชั่น (Admission) ใช้เกณฑ์คะแนนอย่าง เกรด O-NET และ GAT/PAT มาเป็นตัวคัดเลือก
3. รายชื่อสถาบันที่เปิดสอนวิชาพยาบาลศาสตร์ในประเทศไทย
สถาบันที่เปิดสอนวิชาพยาบาลศาสตร์ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 สถาบัน ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล, วิทยาลัยพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น, วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ดังนี้
1. สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล
- คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก)
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะพยาบาลศาสตร์ แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
![พยาบาล พยาบาล]()
- สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เปิดสอนเฉพาะหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง)
- คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
2. วิทยาลัยพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น
- วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
- วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
- วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
- วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
- วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
![พยาบาล พยาบาล]()
3. วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
![พยาบาล พยาบาล]()
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
- วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
4. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
- คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตกาญจนบุรี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
![พยาบาล พยาบาล]()
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงราย
- คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
- คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
- คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
- คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
4. พยาบาลมีกี่สาขา
- สาขาวิชาการพยาบาลพื้นฐาน
- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัวและผดุงครรภ์
- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
- สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช
- สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน
![พยาบาล พยาบาล]()
5. พยาบาล เรียนกี่ปี ?
หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่มีระยะเวลาการศึกษา 4 ปี โดยจะเริ่มฝึกงานขึ้นวอร์ดเรียนรู้และปฏิบัติงานจริงตั้งแต่ปี 2 ไปจนถึงปี 4
6. พยาบาลวิชาชีพมีกี่ระดับ และได้เงินเดือนเท่าไร ?
1. พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
เป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน เพื่อให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ผู้ใช้บริการ ครอบครัว และชุมชน มีอัตราเงินเดือน 15,000-22,200 บาท
2. พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ปฎิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ทำหน้าที่ดูแล แนะนำ รวมถึงตรวจสอบการทำงานของผู้ร่วมงาน และถ่ายถอดความรู้ทางการพยาบาลแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และบุคคลทั่วไป อีกทั้งยังมีสิทธิ์ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเองด้วย มีอัตราเงินเดือน 25,000-36,000 บาท
3. พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ปฎิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน มีหน้าที่คล้ายกับพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ แต่แตกต่างกันตรงที่ความยาก และซับซ้อนของงานที่รับผิดชอบ ทั้งยังมีหน้าที่ถ่ายถอดความรู้ทางการพยาบาลแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกหน่อยงาน มีอัตราเงินเดือน 36,000-50,000 บาท
4. พยาบาลวิชาชีพเชี่ยวชาญ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล มีหน้าที่พัฒนาและประยุกต์ใช้ความรู้ วิธีการ และเทคนิคต่าง ๆ ทางการพยาบาล โดยเนื้องานและหน้าที่ความรับผิดชอบมีความยาก และซับซ้อนมาก อีกทั้งยังต้องรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำกับผู้บริหารทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน มีอัตราเงินเดือน 44,800-59,000 บาท
5. พยาบาลวิชาชีพทรงคุณวุฒิ
ถือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ปฏิบัติงานในฐานะผู้ให้คำปรึกษาส่วนราชการระดับกระทรวง ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานด้านพยาบาลวิชาชีพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ รวมถึงศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเรื่องสุขภาพ และพัฒนาระบบบริการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น มีอัตราเงินเดือน 54,000-66,500 บาท
![พยาบาล พยาบาล]()
7. พยาบาล ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?
- ดูแลผู้ป่วย และผู้ได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ ตั้งแต่การตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรคเบื้องต้น ไปจนถึงการฉีดยาและทำแผล
- เฝ้าสังเกต บันทึก และสรุปการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจเพื่อรายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติของคนไข้ในแต่ละเคส
- ประสานงานกับทุกแผนกที่อยู่ในโรงพยาบาล ตั้งแต่ ห้องผ่าตัด ห้องยา ห้องฉุกเฉินไปจนถึงแม่บ้าน
- ดูแลงานด้านเอกสารต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเอง
- ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ อนามัยและการพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้องแก่บุคคลทั่วไป
- ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ
เมื่อรู้แบบนี้แล้วใครที่กำลังมีความฝันอยากเป็นพยาบาลอยู่คงจะเริ่มมีแนวทางกันบ้างแล้วใช่ไหมละคะ คราวนี้ก็เหลือแค่ตั้งใจอ่านหนังสือเพื่อทำตามความฝันให้สำเร็จ รับรองเลยว่าผลที่ได้คุ้มค่ากับความพยายามแน่นอน !
ขอบคุณข้อมูลจาก : nu.cpru.ac.th, crc.ac.th, th.jobsdb.com, nurse.cmu.ac.th

1. คุณสมบัติพยาบาล ต้องมีอะไรบ้าง
หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ถือด่านแรกของการเป็นพยาบาล หากไม่ตรงตามข้อใดข้อหนึ่งก็อาจทำให้ไม่มีสิทธิ์เข้าเรียนในสาขาวิชาชีพนี้เลยก็ว่าได้
1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 แผนการเรียนสายวิทย์-คณิต
2. เพศชาย/หญิง อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี
3. น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 40 กิโลกรัม ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
4. มีสัญชาติไทย หรือนักศึกษาต่างชาติที่เข้าใจภาษาไทยได้อย่างดี (ในบางมหาวิทยาลัย)
5. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกาย จิตใจ และปราศจากโรคติดต่อร้ายแรง หรือมีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น โรคลมชัก, โรคเรื้อน, หูหนวก, ตาบอด และตาบอดสี เป็นต้น

สำหรับการสอบคัดเลือกหลัก ๆ มี 2 รอบ รอบแรกคือรอบรับตรง และโควต้า ซึ่งเป็นการจัดสอบของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาตามสาขาที่เลือกโดยไม่ต้องผ่านระบบสอบกลาง หรือที่เรียกว่าแอดมิชชั่น (Admission)
ส่วนรอบที่สองเป็นการสอบผ่านระบบสอบกลางหรือแอดมิชชั่น (Admission) ใช้เกณฑ์คะแนนอย่าง เกรด O-NET และ GAT/PAT มาเป็นตัวคัดเลือก
3. รายชื่อสถาบันที่เปิดสอนวิชาพยาบาลศาสตร์ในประเทศไทย
สถาบันที่เปิดสอนวิชาพยาบาลศาสตร์ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 สถาบัน ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล, วิทยาลัยพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น, วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ดังนี้
1. สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล
- คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก)
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะพยาบาลศาสตร์ แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เปิดสอนเฉพาะหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง)
- คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
2. วิทยาลัยพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น
- วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
- วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
- วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
- วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
- วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
- วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
4. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
- คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตกาญจนบุรี
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงราย
- คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
- คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
- คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
- คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
4. พยาบาลมีกี่สาขา
- สาขาวิชาการพยาบาลพื้นฐาน
- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัวและผดุงครรภ์
- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
- สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช
- สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่มีระยะเวลาการศึกษา 4 ปี โดยจะเริ่มฝึกงานขึ้นวอร์ดเรียนรู้และปฏิบัติงานจริงตั้งแต่ปี 2 ไปจนถึงปี 4
6. พยาบาลวิชาชีพมีกี่ระดับ และได้เงินเดือนเท่าไร ?
1. พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
เป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน เพื่อให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ผู้ใช้บริการ ครอบครัว และชุมชน มีอัตราเงินเดือน 15,000-22,200 บาท
2. พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ปฎิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ทำหน้าที่ดูแล แนะนำ รวมถึงตรวจสอบการทำงานของผู้ร่วมงาน และถ่ายถอดความรู้ทางการพยาบาลแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และบุคคลทั่วไป อีกทั้งยังมีสิทธิ์ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเองด้วย มีอัตราเงินเดือน 25,000-36,000 บาท
3. พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ปฎิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน มีหน้าที่คล้ายกับพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ แต่แตกต่างกันตรงที่ความยาก และซับซ้อนของงานที่รับผิดชอบ ทั้งยังมีหน้าที่ถ่ายถอดความรู้ทางการพยาบาลแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกหน่อยงาน มีอัตราเงินเดือน 36,000-50,000 บาท
4. พยาบาลวิชาชีพเชี่ยวชาญ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล มีหน้าที่พัฒนาและประยุกต์ใช้ความรู้ วิธีการ และเทคนิคต่าง ๆ ทางการพยาบาล โดยเนื้องานและหน้าที่ความรับผิดชอบมีความยาก และซับซ้อนมาก อีกทั้งยังต้องรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำกับผู้บริหารทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน มีอัตราเงินเดือน 44,800-59,000 บาท
5. พยาบาลวิชาชีพทรงคุณวุฒิ
ถือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ปฏิบัติงานในฐานะผู้ให้คำปรึกษาส่วนราชการระดับกระทรวง ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานด้านพยาบาลวิชาชีพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ รวมถึงศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเรื่องสุขภาพ และพัฒนาระบบบริการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น มีอัตราเงินเดือน 54,000-66,500 บาท

- ดูแลผู้ป่วย และผู้ได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ ตั้งแต่การตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรคเบื้องต้น ไปจนถึงการฉีดยาและทำแผล
- เฝ้าสังเกต บันทึก และสรุปการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจเพื่อรายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติของคนไข้ในแต่ละเคส
- ประสานงานกับทุกแผนกที่อยู่ในโรงพยาบาล ตั้งแต่ ห้องผ่าตัด ห้องยา ห้องฉุกเฉินไปจนถึงแม่บ้าน
- ดูแลงานด้านเอกสารต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเอง
- ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ อนามัยและการพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้องแก่บุคคลทั่วไป
- ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ
เมื่อรู้แบบนี้แล้วใครที่กำลังมีความฝันอยากเป็นพยาบาลอยู่คงจะเริ่มมีแนวทางกันบ้างแล้วใช่ไหมละคะ คราวนี้ก็เหลือแค่ตั้งใจอ่านหนังสือเพื่อทำตามความฝันให้สำเร็จ รับรองเลยว่าผลที่ได้คุ้มค่ากับความพยายามแน่นอน !
ขอบคุณข้อมูลจาก : nu.cpru.ac.th, crc.ac.th, th.jobsdb.com, nurse.cmu.ac.th