รู้เรื่อง...ภาษีของสามี-ภรรยา

แต่งงาน

แต่งงาน

สรุปข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          การแต่งงานกันมันอยู่บนฐานแห่งความรักความเข้าใจก็ใช่อยู่ แต่เมื่อแต่งกันแล้วยังมีเรื่องเงินทองทรัพย์สินและภาระหน้าที่ติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของ "ภาษี" ที่ทั้งสามีและภรรยามีหน้าที่ต้องนำมาจ่ายให้แก่รัฐบาล ซึ่งกฎหมายในเรื่องภาษีก็จะต้องเข้ามามีบทบาท หากภรรยามีรายได้

          โดยกฎหมายกำหนดให้เงินได้ของภรรยาถือเป็นเงินได้ของสามีอีกด้วย ผลก็คือหน้าที่และความรับผิดชอบของสามีที่จะต้องนำเงินได้ของภรรยานี้มารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีตามกฎหมายนั่นเอง แต่หากมีภาษีค้างชำระเกิดขึ้นเมื่อใด รัฐบาลก็อาจแจ้งให้ฝ่ายภรรยาจัดการเสียโดยแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ดังนั้น ภรรยาก็จะผูกพันที่จะต้องร่วมรับผิดกับสามี ในการจ่ายภาษีที่ค้างชำระนั้น รายละเอียด ดังนี้...

          1. กรณีสามีมีเงินได้ประเภทที่ 1 จำนวน 200,000 บาท ภริยามีเงินได้ประเภทที่ 1 จำนวน 100,000 บาท ในปีภาษี ถ้าสามีภริยานำเงินได้รวมคำนวณเสียภาษีในชื่อของสามี เงินได้ทั้งหมด 300,000 บาท จะหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท (เงินได้สามีหักค่าใช้จ่ายได้ 60,000 บาท เงินได้ภริยาหักค่าใช้จ่ายได้ 40,000 บาท) อนึ่ง กรณีนี้แม้ว่าภริยาจะเลือกเสียภาษี โดยแยกเงินได้ประเภทที่ 1 ไปเสียภาษีในชื่อของภริยา การหัก ค่าใช้จ่ายก็ยังคงหักได้ในจำนวนเท่ากับกรณีรวมคำนวณคือ เงินได้ของสามี 200,000 บาท หักค่าใช้จ่ายได้ 60,000 บาท ส่วนเงินได้ของภริยา 100,000 บาท หักค่าใช้จ่ายได้ 40,000 บาท

          2. ในกรณีภริยามีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 โดยที่แหล่งเงินได้มิใช่แหล่งเดียวกัน เฉพาะเงินได้ประเภทที่ 1 เท่านั้น ที่ภริยาสามารถนำไปแยกคำนวณเสียภาษีในชื่อของตนเองต่างหากจากเงินได้สามี ส่วนเงินได้ประเภทที่ 2 ต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีในชื่อของสามีกรณีเช่นนี้ การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ 2 ประเภทดังกล่าว ต้องเฉลี่ยหักตามส่วน

          3. ในกรณีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน โดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงาน ทั้งนี้ไม่ว่าเงินที่จ่ายนั้นจะจ่ายจากเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญหรือเงินอื่น ใด ผู้มีเงินได้อาจเลือกเสียภาษีโดยรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทที่ 1 คือ ให้คำนวณรวมกับเงินเดือนแล้วหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 40 ของเงินได้พึงประเมิน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท หรือเลือกคำนวณตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากรแล้วให้นำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไปก็ได้ ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดภาษีได้

          เรื่องภาษีถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะตกตลปลงใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน เจ้าบ่าว-สาวควรจะมีการพูดคุยตกลงเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ให้เรียบร้อย





ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  และ klothailand.com



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รู้เรื่อง...ภาษีของสามี-ภรรยา อัปเดตล่าสุด 16 ธันวาคม 2552 เวลา 11:15:56
TOP
x close