x close

การผ่าตัดเสริมหน้าอก

 



การเสริมหน้าอก เสริมเต้านม (Breast Augmentation) (สมาคมศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย)

          เป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่มขนาดของเต้านมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งการเพิ่มขนาดหน้าอกนี้ก็เพื่อ 

          เพื่อให้รูปร่างดีขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการแก้ความรู้สึกส่วนตัวที่ว่าเต้านมของตัวเองมีขนาดเล็กเกินไป 

          เพื่อเพิ่มขนาดของเต้านมหลังจากมีบุตร หลังการให้นมบุตร หรือคลอดบุตรแล้ว เต้านมอาจจะมีความตึงน้อยลง 

          เพื่อแก้ไขขนาดที่แตกต่างของเต้านมทั้งสองข้าง 

          เพื่อแก้ไขรูปทรงที่ผิดปกติ ซึ่งอาจจะเป็นแต่กำเนิดหรือเกิดจากการผ่าตัด 

           ใครควรเสริมหน้าอก (เพิ่มขนาดเต้านม) 

         ผู้ที่จะเพิ่มขนาดเต้านมต้องมีความต้องการที่จะให้รูปร่างดูดีขึ้น ผู้นั้นควรจะมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่ต้องไม่หวังมากเกินไปว่ารูปร่างจะดูสมบูรณ์แบบไม่มีที่ติ

           ชนิดของถุงเต้านมเทียม (Breast implants) 

         ถุงเต้านมเทียมจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ(ดูภาพประกอบ)

         1. เปลือกถุง. ซึ่ง. จะทำด้วยซิลิโคน ลักษณะของ เปลือกอาจจะเป็นผิวเรียบ หรือผิวขรุขระ

         2 สารที่บรรจุในถุง จะมีอยู่ 2 ชนิดคือ

         2.1 น้ำเกลือ

         2.2 ซิลิโคนเหลว



         

ผิวเรียบบรรจุวุ้น(ซิลิโคนเหลว)     ผิวทรายบรรจุน้ำเกลือ


         

ผิวทรายบรรจุวุ้น(ซิลิโคนเหลว)          ผิวทรายบรรจุวุ้น(ซิลิโคนเหลว)

            มีความเสี่ยงแค่ไหนในการได้รับการเสริมเต้านม 

          การผ่าตัดทุกชนิดมีความเสี่ยงที่เกิดจากการทำผ่าตัดทั่วไป เช่น เลือดออก,เลือดคั่ง,ติดเชื้อ แต่มีอัตราการเกิดประมาณ 1-5 % ผลแทรกซ้อนจากการเสริมเต้านมอาจจะเกิด การรัดตัวของพังผืดที่อยู่รอบเต้านม ทำให้เกิดความรู้สึกแข็งผิดปกติของเต้านมข้างนั้นบางครั้งอาจจะมีความรู้สึกเสียว,ชา บริเวณหัวนมหรือบริเวณใกล้รอยผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่จะดีขึ้นเป็นปกติได้ แต่บางคนก็อาจจะรู้สึกเช่นนั้นตลอดไป ผู้ที่ได้รับการเสริมเต้านมสามารถให้นมบุตรได้ถ้าต้องการ มีรายงานว่าผู้ที่ได้รับการเสริมเต้านมบางรายมีอาการปวดตามข้อต่างๆ มีไข้,อ่อนเพลีย แต่จากการศึกษาโดยละเอียดไม่สามารถระบุความเกี่ยวพัน ระหว่างอาการเหล่านี้กับการเสริมเต้านมได้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมไม่ได้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับการเสริมเต้านม แต่การตรวจเต้านมด้วย เอ็กซเรย์ แมมโมแกรม ต้องใช้วิธีพิเศษ

            ถุงเต้านมเทียมมีโอกาสแตกรั่วหรือไม่ 

          ถุงเต้านมเทียมมีโอกาสแตกหรือรั่วได้ ไม่เกี่ยวกับการได้รับกระแทกอย่างรุนแรง ถ้าเป็นน้ำเกลือ เต้านมด้านนั้นจะยุบลงโดยรวดเร็ว น้ำเกลือที่รั่วออกมาจะถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิตไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด ถ้าเป็นซิลิโคนเหลวจะเกิดได้ 2 กรณี อย่างแรกถ้าพังพืดที่หุ้มรอบถุงไม่แตก อาจจะไม่รู้เลยว่าเกิดการรั่วขึ้น ถ้าพังพืดที่หุ้มรอบฉีกขาดซิลิโคนเหลวจะออกมานอกถุงแล้ว อาจจะเกิดพังพืดหุ้มรอบซิลิโคนนั้นใหม่ เต้านมข้างนั้นจะมีรูปร่างที่เปลี่ยนไป และอาจจะรู้สึกแข็งมากขึ้น

            วางแผนสำหรับการผ่าตัด 

          ถ้าท่านสนใจที่จะได้รับการผ่าตัดควรจะพบแพทย์ที่มีความชำนาญเพื่อให้แพทย์ที่มีความชำนาญเพื่อให้แพทย์ตรวจร่างกายของท่าน และสภาพเต้านมของท่าน ท่านสามารถจะคุยซักถาม และบอกความต้องการของท่านต่อแพทย์เพื่อแพทย์จะได้บอกรายละเอียดของการทำผ่าตัดต่อ ท่าน

          ระยะพักฟื้นจากการผ่าตัด ประมาณ 5-7 วัน

          ระยะเวลาผ่าตัดประมาณ 2-4 ชั่วโมง


            การผ่าตัด

รอยผ่าตัด อาจจะอยู่ที่รักแร้,รอบปานนม,กลางปานนม,ใต้ฐานนม,สะดือ

         

(ภาพ 1) ก่อนผ่าตัด                      (ภาพ 2)หลังผ่าตัด    


ตำแหน่งถุงเต้านมเทียม

               

อยู่ใต้กล้ามเนื้อ (ภาพ3)                 อยู่ใต้เนื้อเต้านม (ภาพ 4)


            หลังผ่าตัด

          ท่านจะรู้สึกตึงปวดได้บ้างประมาณ 2-3 วัน หลังผ่าตัดรูปร่างของเต้านมจะดูเป็นธรรมชาติประมาณ 1-2 เดือนท่านอาจจะต้องนวดเต้านมที่เสริมตามคำแนะนำของแพทย์อีกประมาณ 3-6 เดือน

 


            กฎหมายใหม่ของ เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย 

          หมอสมพล : ผู้คนสมัยนี้ไม่ว่าหญิงหรือชายต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องความสวยความงามกันทั้งนั้นนะครับ การผ่าตัดเพื่อเสริมแต่งความงานตามส่วนต่างๆ ของร่างกายก็เลยกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว โดยเฉพาะการผ่าตัดเสริมทรวงอกนั้นมีผู้นิยมทำกันค่อนข้างมากทีเดียว การผ่าตัดเสริมทรวงอก เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย

          การผ่าตัดเสริมทรวงอกหรือการเสริมเต้านม ไม่ว่าจะเป็นการฝังวัสดุหรือฉีดสารเข้าไปเสริมน่าจะมีความปลอดภัยหากผู้ที่กระทำเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ แต่เนื่องจากกลุ่มผู้หญิงที่ต้องการเสริมทรวงอกมักจะรู้ไม่เท่าทันโดยไปใช้บริการจากผู้ที่ไม่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญจนก่อให้เกิดอันตรายขึ้น

          สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงประกาศให้เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องแจ้งรายการละเอียดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งกฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มีนาคม 2541 เป็นต้นไป

          เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฝังในร่างกายเพื่อทดแทนเต้านมส่วนที่ขาดหายไปหรือ
เพื่อให้เกิดความสวยงามรวมทั้งการใช้ฉีดสารเข้าไปด้วย การใช้เต้านมเทียมชนิดนี้จะต้องใช้โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น นั่นก็คือจะต้องให้แพทย์เป็นผู้ผ่าตัดฝังหรือฉีดซิลิโคนให้แก่ผู้ที่ต้องการและควรจะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง คือ แพทย์ทางศัลยกรรมตกแต่ง หรือเรียกง่ายๆว่าเป็น หมอผ่าตัดที่ฝึกมาทางการตกแต่งเสริมความงามเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและตัวผู้ถูกผ่าไม่ต้องกลายเป็นหนูทดลองสำหรับหมอ แล้วท่านจะได้มีทรวงอกที่สวยงามตามที่ต้องการอีกด้วย

เรื่องราวผู้หญิง ความสวยงาม แฟชั่น ความรัก มากมาย คลิกเลย

คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สมาคมแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
การผ่าตัดเสริมหน้าอก อัปเดตล่าสุด 12 ตุลาคม 2552 เวลา 15:48:46 6,342 อ่าน
TOP