อันตรายจากการฉีดซิลิโคนเหลว ความเสี่ยงที่สาวอยากสวยต้องระวัง มารู้จักว่าซิลิโคนเหลวคืออะไร ส่งผลร้ายต่อร่างกายได้อย่างไรบ้าง พร้อมวิธีแก้ไข หากทำสวยด้วยวิธีนี้ไปแล้ว
![ซิลิโคนเหลว ซิลิโคนเหลว]()
ปัจจุบันมีสาว ๆ จำนวนไม่น้อยที่นิยมไปศัลยกรรม รวมถึงฉีดสารเติมเต็มเข้าใบหน้า โดยหวังว่าจะทำให้ตัวเองดูดีขึ้น ซึ่งการฉีดซิลิโคนเหลวก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เห็นผลไวและราคาไม่แพง แต่รู้ไหมว่าการฉีดสารแปลกปลอมที่ไม่ได้มาตรฐานนี้ส่งผลร้ายกาจกว่าที่คิด เพราะมีความเสี่ยงสุดอันตรายต่อร่างกาย บางรายถึงขั้นเสียโฉม อย่างที่เห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง
ถ้าไม่อยากเสี่ยงหน้าพัง แถมยังไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป กระปุกดอทคอมจะพาไปรู้จักข้อเท็จจริงและอันตรายจากการฉีดซิลิโคนเหลว พร้อมหาคำตอบว่าหากฉีดไปแล้วจะแก้ไขได้อย่างไร
ซิลิโคนเหลว คืออะไร
ซิลิโคนเหลว คือสารเติมเต็มประเภทหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นที่นิยมทั้งคนไทยและต่างประเทศ เพื่อเสริมให้บริเวณที่ฉีดสารเข้าไปตึงและนูนออกมา ทำให้รู้สึกดูดีและอ่อนกว่าวัยขึ้น นับว่าทำได้ง่าย เห็นผลทันที และราคาไม่แพง หลาย ๆ คนจึงฉีดได้ในปริมาณมาก ๆ สำหรับบริเวณที่นิยมฉีดกันก็จะมีตั้งแต่ฉีดเสริมจมูก คาง หน้าผาก แก้ม ขมับ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ซิลิโคนเหลวถือเป็นสารสังเคราะห์ที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ควรฉีดเข้าสู่ร่างกาย โดยส่วนใหญ่พบว่าหลังจากฉีดไปสักระยะจะเกิดปัญหาตามมา
![ซิลิโคนเหลว ซิลิโคนเหลว]()
อันตรายจากการฉีดซิลิโคนเหลว
เมื่อฉีดสารแปลกปลอมที่ไม่ได้มาตรฐานเข้าไปในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นซิลิโคนเหลว พาราฟิน น้ำมันมะกอก น้ำมันพืชบางชนิด หรือแม้กระทั่งสารฮิตติดหูอย่างการฉีดไบโอ ร่างกายของเราอาจมีปฏิกิริยาต่อต้านและเกิดอาการแพ้ได้ ที่สำคัญคือซิลิโคนเหลวไม่สลายไปตามกาลเวลา และไม่สามารถเอาออกได้หมด เนื่องจากซิลิโคนเหลวจะไหลและกระจายตัวไปตามส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดผลเสียตามมา ได้แก่
- ผิวหนังที่ฉีดกลายเป็นก้อนแข็ง
- ผิวตะปุ่มตะป่ำ
- เกิดพังผืด
- มีอาการบวม แดง เขียวช้ำ
- เกิดการอักเสบติดเชื้อ
- สัดส่วนของบริเวณที่ฉีดเกิดบิดเบี้ยวผิดรูป อย่างบริเวณคาง พอซิลิโคนไหลไปรวมกันก็ทำให้กลายเป็นคางแม่มดได้
อันตรายเหล่านี้ บางรายอาจถึงขั้นเสียโฉมเลยทีเดียว ซึ่งค่าเสียหายในการแก้ไขนั้นแพงกว่าการฉีดหลายเท่าตัว ยิ่งถ้าฉีดในชั้นผิวหนังแบบตื้น ๆ ติดกับผิวหนังชั้นนอกด้วยแล้วละก็ ยิ่งขูดออกยากเข้าไปอีก เนื่องจากเสี่ยงต่อการทะลุของผิวหนัง และทำให้ผิวหนังบาดเจ็บได้ง่าย ๆ เรียกว่าสวยไม่คุ้มเสียเลย
![ซิลิโคนเหลว ซิลิโคนเหลว]()
การแก้ไขเอาซิลิโคนเหลวออก
เริ่มเห็นแล้วใช่ไหมว่า การฉีดซิลิโคนเหลวนั้นมีผลร้ายมากกว่าผลดีเสียอีก แต่สำหรับใครที่ฉีดซิลิโคนเหลวไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ยังสามารถไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อแก้ไขให้ทันท่วงทีได้ โดยแพทย์จะมีขั้นตอนการรักษา ดังนี้
- ศัลยแพทย์จะผ่าตัดเลาะสารที่ฉีดในส่วนต่าง ๆ ออก โดยระวังไม่ให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อ เส้นเลือด และเส้นประสาทโดยรอบ ส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความยาก-ง่าย
- บางบริเวณที่ทำการผ่าตัดเลาะซิลิโคนเหลวออก อาจทำให้ผิวหนังหย่อนคล้อยได้ เช่น แก้ม ซึ่งต้องตกแต่งแก้ไขด้วยการศัลยกรรมเพิ่มเติม อย่างผ่าตัดดึงหน้าในภายหลัง
- หลังการผ่าตัดเลาะซิลิโคนเหลวออก หากคนไข้ต้องการศัลยกรรมเสริมจมูกหรือคางใหม่ ศัลยแพทย์จะแนะนำให้ใช้การเสริมด้วยซิลิโคนแบบแท่งแทน
ทั้งนี้ ยังมีบางตำแหน่งที่แพทย์ไม่สามารถเลาะออกมาได้ เช่น บริเวณใกล้เส้นประสาท ใกล้ชั้นผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาตามา เช่น ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว ตาตก เป็นต้น
![ซิลิโคนเหลว ซิลิโคนเหลว]()
การดูแลหลังการรักษา
การผ่าตัดเลาะซิลิโคนเหลวออก ในทางเทคนิคแล้วจะมีเลือดออกค่อนข้างมาก แพทย์จำเป็นต้องหยุดเลือดทันที เพื่อแก้ปัญหาเลือดคั่งค้าง โดยการดูดเลือดออกทั้งในระหว่างผ่าตัดและหลังการผ่าตัด หลังการผ่าตัด คนไข้อาจมีอาการบวมนานกว่ากรณีที่เสริมใหม่ โดยเฉลี่ยแล้ว ระยะเวลายุบบวมอยู่ที่ 2-3 สัปดาห์ สามารถใช้วิธีการประคบอุ่นเพื่อลดอาการบวมหลังผ่าตัดได้ นอกจากนั้นยังควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ไม่ให้แผลโดนน้ำ 3 วันแรกหลังผ่าตัด
- ไม่นอนทับแผล
- ระมัดระวังไม่ให้แผลกระทบกระเทือน
- เมื่อแผลหายสามารถทำเลเซอร์ หรือทรีตเมนต์ต่าง ๆ ได้ตามปกติ แต่แผลอาจอักเสบได้บ้างหากถูกกระตุ้นด้วยความร้อน
- หากเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์
ไม่ว่าจะทำสวยด้วยการศัลยกรรมในรูปแบบใดก็ตาม สาว ๆ ควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ เพราะการตัดสินใจผิดพลาดเพียงครั้งเดียว อาจทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปเลยก็ได้ ดังนั้นต้องดึงสติให้ดี อย่าเห็นแก่ของถูก และมองหาสถานพยาบาลที่เชื่อถือได้ เพราะความสวยต้องมาพร้อมความปลอดภัยด้วยถึงจะดีที่สุด
ข้อมูลจาก : yanhee.net, si.mahidol.ac.th, phyathai-sriracha.com

ถ้าไม่อยากเสี่ยงหน้าพัง แถมยังไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป กระปุกดอทคอมจะพาไปรู้จักข้อเท็จจริงและอันตรายจากการฉีดซิลิโคนเหลว พร้อมหาคำตอบว่าหากฉีดไปแล้วจะแก้ไขได้อย่างไร
ซิลิโคนเหลว คืออะไร
ซิลิโคนเหลว คือสารเติมเต็มประเภทหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นที่นิยมทั้งคนไทยและต่างประเทศ เพื่อเสริมให้บริเวณที่ฉีดสารเข้าไปตึงและนูนออกมา ทำให้รู้สึกดูดีและอ่อนกว่าวัยขึ้น นับว่าทำได้ง่าย เห็นผลทันที และราคาไม่แพง หลาย ๆ คนจึงฉีดได้ในปริมาณมาก ๆ สำหรับบริเวณที่นิยมฉีดกันก็จะมีตั้งแต่ฉีดเสริมจมูก คาง หน้าผาก แก้ม ขมับ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ซิลิโคนเหลวถือเป็นสารสังเคราะห์ที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ควรฉีดเข้าสู่ร่างกาย โดยส่วนใหญ่พบว่าหลังจากฉีดไปสักระยะจะเกิดปัญหาตามมา

เมื่อฉีดสารแปลกปลอมที่ไม่ได้มาตรฐานเข้าไปในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นซิลิโคนเหลว พาราฟิน น้ำมันมะกอก น้ำมันพืชบางชนิด หรือแม้กระทั่งสารฮิตติดหูอย่างการฉีดไบโอ ร่างกายของเราอาจมีปฏิกิริยาต่อต้านและเกิดอาการแพ้ได้ ที่สำคัญคือซิลิโคนเหลวไม่สลายไปตามกาลเวลา และไม่สามารถเอาออกได้หมด เนื่องจากซิลิโคนเหลวจะไหลและกระจายตัวไปตามส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดผลเสียตามมา ได้แก่
- ผิวหนังที่ฉีดกลายเป็นก้อนแข็ง
- ผิวตะปุ่มตะป่ำ
- เกิดพังผืด
- มีอาการบวม แดง เขียวช้ำ
- เกิดการอักเสบติดเชื้อ
- สัดส่วนของบริเวณที่ฉีดเกิดบิดเบี้ยวผิดรูป อย่างบริเวณคาง พอซิลิโคนไหลไปรวมกันก็ทำให้กลายเป็นคางแม่มดได้
อันตรายเหล่านี้ บางรายอาจถึงขั้นเสียโฉมเลยทีเดียว ซึ่งค่าเสียหายในการแก้ไขนั้นแพงกว่าการฉีดหลายเท่าตัว ยิ่งถ้าฉีดในชั้นผิวหนังแบบตื้น ๆ ติดกับผิวหนังชั้นนอกด้วยแล้วละก็ ยิ่งขูดออกยากเข้าไปอีก เนื่องจากเสี่ยงต่อการทะลุของผิวหนัง และทำให้ผิวหนังบาดเจ็บได้ง่าย ๆ เรียกว่าสวยไม่คุ้มเสียเลย

เริ่มเห็นแล้วใช่ไหมว่า การฉีดซิลิโคนเหลวนั้นมีผลร้ายมากกว่าผลดีเสียอีก แต่สำหรับใครที่ฉีดซิลิโคนเหลวไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ยังสามารถไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อแก้ไขให้ทันท่วงทีได้ โดยแพทย์จะมีขั้นตอนการรักษา ดังนี้
- ศัลยแพทย์จะผ่าตัดเลาะสารที่ฉีดในส่วนต่าง ๆ ออก โดยระวังไม่ให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อ เส้นเลือด และเส้นประสาทโดยรอบ ส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความยาก-ง่าย
- บางบริเวณที่ทำการผ่าตัดเลาะซิลิโคนเหลวออก อาจทำให้ผิวหนังหย่อนคล้อยได้ เช่น แก้ม ซึ่งต้องตกแต่งแก้ไขด้วยการศัลยกรรมเพิ่มเติม อย่างผ่าตัดดึงหน้าในภายหลัง
- หลังการผ่าตัดเลาะซิลิโคนเหลวออก หากคนไข้ต้องการศัลยกรรมเสริมจมูกหรือคางใหม่ ศัลยแพทย์จะแนะนำให้ใช้การเสริมด้วยซิลิโคนแบบแท่งแทน
ทั้งนี้ ยังมีบางตำแหน่งที่แพทย์ไม่สามารถเลาะออกมาได้ เช่น บริเวณใกล้เส้นประสาท ใกล้ชั้นผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาตามา เช่น ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว ตาตก เป็นต้น

การผ่าตัดเลาะซิลิโคนเหลวออก ในทางเทคนิคแล้วจะมีเลือดออกค่อนข้างมาก แพทย์จำเป็นต้องหยุดเลือดทันที เพื่อแก้ปัญหาเลือดคั่งค้าง โดยการดูดเลือดออกทั้งในระหว่างผ่าตัดและหลังการผ่าตัด หลังการผ่าตัด คนไข้อาจมีอาการบวมนานกว่ากรณีที่เสริมใหม่ โดยเฉลี่ยแล้ว ระยะเวลายุบบวมอยู่ที่ 2-3 สัปดาห์ สามารถใช้วิธีการประคบอุ่นเพื่อลดอาการบวมหลังผ่าตัดได้ นอกจากนั้นยังควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ไม่ให้แผลโดนน้ำ 3 วันแรกหลังผ่าตัด
- ไม่นอนทับแผล
- ระมัดระวังไม่ให้แผลกระทบกระเทือน
- เมื่อแผลหายสามารถทำเลเซอร์ หรือทรีตเมนต์ต่าง ๆ ได้ตามปกติ แต่แผลอาจอักเสบได้บ้างหากถูกกระตุ้นด้วยความร้อน
- หากเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์
ไม่ว่าจะทำสวยด้วยการศัลยกรรมในรูปแบบใดก็ตาม สาว ๆ ควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ เพราะการตัดสินใจผิดพลาดเพียงครั้งเดียว อาจทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปเลยก็ได้ ดังนั้นต้องดึงสติให้ดี อย่าเห็นแก่ของถูก และมองหาสถานพยาบาลที่เชื่อถือได้ เพราะความสวยต้องมาพร้อมความปลอดภัยด้วยถึงจะดีที่สุด
ข้อมูลจาก : yanhee.net, si.mahidol.ac.th, phyathai-sriracha.com