คลั่งรัก คืออะไร
อาการคลั่งรัก อันตรายหรือไม่
อาการคลั่งรัก เป็นยังไง
1. รู้สึกหลงใหลและคลั่งไคล้ในวัตถุ หรือตัวบุคคลแบบไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน และหมกหมุ่นอยู่กับสิ่งสิ่งนั้นได้ทั้งวันทั้งคืน
2. จินตนาการและวาดฝันถึงอนาคตที่หอมหวานกับคนคนนั้นอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้เสียสมาธิ เช่น จินตนาการว่าได้คบหาดูใจกัน หรือวาดฝันถึงงานแต่งงาน และสร้างครอบครัวกับคนคนนั้น เป็นต้น
3. รู้สึกสบายใจและปลอดภัยทุกครั้งที่อยู่กับคนคนนั้น จนทำให้คุณอยากอยู่กับเขาตลอดเวลาแบบตัวติดกันเป็นปาท่องโก๋ไปเลยยิ่งดี
4. คุณมองแต่ข้อดีของเขาเพียงอย่างเดียว และมองข้ามข้อเสียทั้งหมดไปอย่างง่ายดาย จนทำให้เขาเป็นคนที่เพอร์เฟกต์มากในสายตาคุณ
5. สืบหาข้อมูลว่าตอนนี้เขาคุยหรือคบอยู่กับใคร และรู้สึกหึงหวงทุกคนที่เข้ามายุ่งกับเขา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน รุ่นพี่ หรือรุ่นน้อง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นอะไรกัน
6. รู้สึกฟุ้งซ่าน และไม่มีสมาธิ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะมัวแต่คิดถึงเรื่องของคนคนนั้นมากจนเกินไป
7. รู้สึกตื่นเต้น ประหม่า พูดจาติด ๆ ขัด ๆ หรือถึงขั้นใจสั่น เหงื่อออก และวิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลมทุกครั้งที่อยู่ใกล้เขา
8. อารมณ์แปรปรวนง่าย เวลาเขาสนใจ คุณจะรู้สึกมีความสุขมาก แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เขาไม่ค่อยสนใจ คุณก็จะทุกข์ใจมากเช่นกัน
9. คุณรู้สึกอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเขา แค่ลองจินตนาการว่าพรุ่งนี้เขาจะหายไปจากชีวิตก็สามารถทำให้คุณรู้สึกเศร้าขึ้นมาทันที
อาการคลั่งรัก วิธีรักษา แก้ยังไงได้บ้าง
- ทำความรู้จักกับอาการคลั่งรัก
ควรทำความรู้จักกับอาการคลั่งรักก่อนว่ามีลักษณะอาการเป็นอย่างไร แล้วตอนนี้คุณเข้าข่ายอาการเหล่านั้นหรือไม่ หลังจากรู้ตัวแล้วก็ค่อย ๆ เริ่มแก้ไขไปทีละจุด
- ทำความรู้จักกับเขาคนนั้นให้มากขึ้น
หลังจากทำความรู้จักกับอาการคลั่งรักแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องทำความรู้จักกับเขาคนนั้นกันบ้าง โดยอาการคลั่งรักส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของความสัมพันธ์ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปคุณรู้จักกับเขามากขึ้น และเจอกันมากขึ้นในชีวิตจริง ก็จะทำให้อาการคลั่งรักค่อย ๆ ลดลง
- อย่าปล่อยให้อาการคลั่งรักเข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตคุณ
เมื่อเรารู้สึกหลงรักใครสักคนมาก ๆ แน่นอนว่าจะทำให้เราคิดถึงแต่เรื่องของเขาจนไม่มีสมาธิ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้บ่อย ๆ อาจทำให้กระทบการทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิตประจำวันได้ เพราะฉะนั้นหากคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีอาการคลั่งรักควรปรับพฤติกรรมและความคิดทันทีเพื่อไม่ให้อาการเหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตคุณในอนาคต
- หากิจกรรมทำยามว่าง
หากคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังเริ่มมีอาการคลั่งรัก แนะนำให้ลองหากิจกรรมทำเพื่อช่วยให้คิดถึงเขาน้อยลง ซึ่งอาจจะเป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ทุกวัน เช่น ดูหนัง, ฟังเพลง, ช้อปปิ้ง หรือออกกำลังกาย เป็นต้น
เมื่อทำความรู้จักกับอาการคลั่งรักกันไปแล้ว หากใครมีอาการเข้าข่ายตามที่เรากล่าวมาข้างต้นก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เพราะอาการคลั่งรักเป็นสภาวะทางจิตใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถแก้ไขได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรคลั่งรักแบบพอดี ๆ ไม่ควรหมกมุ่นจนเกินไป เพราะอาจทำให้เสียความเป็นตัวเองและอาจกระทบกับการใช้ชีวิตได้