
อาหารและขนมมงคลในงานแต่งงานแบบไทยภาคกลาง (i Do)
Wedding Tradition เรื่อง : Supatha
นอกจากความประทับใจจากภาพอันสวยงามของพิธีการจัดงาน ความสวยหวานของคู่บ่าวสาว งานแต่งงานยังมีการเลี้ยงรับรองผู้มาร่วมยินดีในงาน อาหารหลากหลายทั้งคาวหาวนถูกจัดเตรียมไว้เต็มที่ นับเป็นความประทับใจอีกประการที่ไม่อาจปฏิเสธได้เลย
สำหรับภาคกลางเรียกว่า "กินสามถ้วย" หรือ "กินสี่ถ้วย" หมายถึงการเลี้ยงขนมสามอย่างหรือสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล




นอกจากจะมีความหมายดีแล้ว ขนมทั้ง 4 ยังเป็นแหล่งพลังงานที่หวานฉ่ำ ชื่นใจสำหรับแขกผู้เหนื่อยล้าจากการเดินทาง เพราะในสมัยก่อนการเดินทางมาร่วมงานมงคลไม่ได้สะดวกสบายดังปัจจุบัน ต่อมาเมื่อการเดินทางสะดวกขึ้นการเลี้ยงขนมแบบนี้จึงมีให้เห็นน้อยลงไป และงานฉลองแต่งงาน จึงมีชื่อเรียกง่าย ๆ อีกอย่างว่า "กินเลี้ยง" แทน
นอกจากนี้ในขบวนขันหมากของภาคกลาง จะต้องมี "เตียบอาหาร" ที่เน้นอาหารคาวด้วยเช่นกัน เตียบอาหารต้องจัดให้มี 3 คู่ขึ้นไป อาหารคาวที่จัดวางในเตียบอาหารได้แก่ ขนมจีบ ขนมจีนน้ำยา และห่อหมก ซึ่งชื่ออาหารล้วน มีความหมายในทางมงคลเช่นกัน





ส่วนขนมหวานที่มีชื่อเป็นมงคล นิยมกันในปัจจุบันเพราะสื่อความหมายในทางเกื้อหนุนเพิ่มพูนชีวิตคู่ให้มีแต่ความเจริญ ขนมมงคล 9 ชนิดที่ขาดไม่ได้เลยในขบวนขันหมากของเจ้าบ่าวประกอบด้วย








เมื่อมีอาหารมงคล ย่อมต้องมีอาหารต้องห้าม อาหารที่จะไม่ยอมให้มีเลยในงานแต่งได้แก่ แกงบวน ต้มยำ ยำผัก ปลาร้า ปลาเจ่า ตลอดจนอาหารชนิดอื่นที่ชื่อและลักษณะไม่เป็นมงคล เช่น หมี่กรอบ มีลักษณะหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่ายเป็นต้น อาหารในงานมงคลนี้ ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงความละเมียดละไมในการดำเนินชีวิตของคนไทยมาช้านาน ในรุ่นลูกรุ่นหลายจึงต้องช่วยรักษาและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมอันดีนี้ ให้อยู่กับคนรุ่นหลังต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2554 ISSUE 220
เรื่องราวผู้หญิง ความสวยความงาม แฟชั่น ความรัก มากมาย คลิกเลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2554 ISSUE 220