ครีมทาผิวขาว อันตรายที่สาว ๆ ต้องระวัง ถ้าไม่อยากหน้าพัง ผิวพัง ยิ่งเป็นครีมกวนเองที่ผสมสารต้องห้าม ก็ยิ่งส่งผลร้ายต่อร่างกายกว่าที่คิด มาดูอันตรายจากครีมผิวขาว พร้อมวิธีสังเกตครีมที่ไม่ควรใช้กัน
ในยุคที่กระแสความนิยมของการมีผิวขาวเพิ่มขึ้น ครีมทาผิวขาวจัดเป็นสินค้ายอดฮิตที่มีวางขายตามท้องตลาดมากมาย อีกทั้งสาว ๆ ก็พร้อมจะลองใช้ อย่างล่าสุด กระแสครีมกระปุกฝาแดง ครีมกวนเอง ก็กำลังแพร่หลายในโซเชียล ด้วยราคาที่ถูกและรีวิวมักเห็นผลไว ผิวขาวใสขึ้นจริง แต่ภายในระยะเวลาไม่นาน ความขาวใสนี้จะถูกแทนที่ด้วยอาการข้างเคียง ทั้งผิวแตกลาย มีรอยแดง รอยไหม้ดำ ผื่นแพ้ หน้าบาง หน้าลอก ซึ่งบางรายอาจต้องใช้เวลารักษานาน หรือบางรายอาจเป็นถาวรเลยก็ได้ นอกจากจะผิวพังแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อหลายระบบของร่างกาย ไปจนถึงทารกในครรภ์ได้อีกด้วยนะ !
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อย่าปล่อยให้ตัวเองเป็นเหยื่อ มารู้เท่าทันอันตรายจากครีมผิวขาว พร้อมเช็กวิธีสังเกตครีมอันตราย เพื่อที่จะเลือกซื้อครีมทาหน้า ครีมทาผิว ได้อย่างปลอดภัยกันดีกว่า
อันตรายจากครีมผิวขาว ครีมเถื่อน สารพิษเพียบ !
จากการศึกษาของสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ซึ่งตรวจสารอันตรายในเครื่องสำอางจากที่ผู้ป่วยส่งตรวจ และจากที่ได้จากการซื้อ-ขายผ่านตลาดนัดและตลาดออนไลน์ ระหว่างปี 2561-2562 จำนวน 420 ตัวอย่าง พบว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่เรียกว่า “ครีมหน้าขาว” มีสารอันตรายถึงร้อยละ 25 นั่นคือในครีมหน้าขาวทุก ๆ 4 ตลับ จะพบสารอันตราย 1 ตลับเลยทีเดียว โดยสารปรอทเป็นสารอันตรายที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาคือ สารไฮโดรควิโนน และกรดวิตามินเอ
สารอันตรายข้างต้นมีกลไกที่ช่วยให้ผิวขาวได้ แต่ก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ดังนี้
1. สารปรอท
สารปรอทในครีมทาผิวขาว มีกลไกยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส ทำให้มีการสร้างเม็ดสีเมลานิน ลดลง จึงช่วยให้ผิวขาวขึ้น นอกจากนี้ปรอทยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด จึงป้องกันสิวได้ด้วย
ผลข้างเคียงจากการใช้
พิษต่อผิวหนัง : แม้ว่าสารปรอทจะมีผลทำให้เม็ดสีลดลง แต่พบว่าอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ หากใช้ในระยะยาวจะทำให้ผิวบางลง เกิดจุดดำที่ผิวเพิ่มขึ้น เกิดฝ้าถาวร หรือในบางจุดจะทำให้เกิดผิวด่างถาวร
พิษต่อระบบประสาท : ทำให้มีอาการสั่น ปลายประสาทอักเสบ การทรงตัวผิดปกติ ชักกระตุก ซึมเศร้าหรือเกิดประสาทหลอนได้
พิษต่อตับและไต : ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบและไตอักเสบได้ในระยะยาว เสี่ยงตับและไตวายเฉียบพลัน จนเสียชีวิตได้
พิษต่อระบบเลือด : ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง
พิษต่อลูกน้อยในครรภ์ : หากใช้ระหว่างตั้งครรภ์ สารปรอทจะดูดซึมสู่ทารก และมีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกสมองพิการและปัญญาอ่อนได้
2. ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone)
สารไฮโดรควิโนนออกฤทธิ์โดยการยับยั้งกระบวนการทางเคมีของเซลล์สร้างเม็ดสี เมื่อปริมาณเม็ดสีลดลงจึงส่งผลให้ผิวขาวขึ้นได้ จากกลไกนี้ทำให้ยาไฮโดรควิโนนถูกนำมาใช้เป็นยาทารักษาผิวที่เป็นฝ้า กระ และจุดด่างดำ ซึ่ง อย. กำหนดให้ผสมสารไฮโดรควิโนนในการรักษาฝ้าได้ไม่เกิน 2%
ผลข้างเคียงจากการใช้เกินขนาด
พิษต่อผิวหนัง : มีอาการแสบร้อน ตุ่มแดง และภาวะผิวคล้ำมากขึ้นในบริเวณที่ทา หากใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรสีน้ำเงินอมดำได้ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง
พิษต่อระบบประสาท : ตัวยาจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีอาการสั่น หรือเกิดภาวะลมชัก หรือกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ยาได้
3. กรดวิตามินเอ (Retinoic acid)
กรดชนิดนี้มีผลรบกวนกระบวนการสร้างเม็ดสี กระตุ้นการแบ่งเซลล์ และเร่งการผลัดเซลล์ของผิวในชั้นเยื่อบุผิว ทั้งยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ใช้สร้างเม็ดสีอีกด้วย นอกจากนี้ยังป้องกันการสร้างสิวอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว
ผลข้างเคียงจากการใช้
พิษต่อผิวหนัง : ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ผิวหน้าลอก อักเสบ แพ้แสงแดดได้ง่าย อาจเกิดภาวะผิวด่างขาวหรือผิวคล้ำได้ชั่วคราว และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
4. สเตียรอยด์ (Steroid)
มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี ทำให้ผิวขาวขึ้น สเตียรอยด์เป็นสารที่ห้ามใส่ในเครื่องสำอาง มักใช้เป็นสูตรผสมกับยาตัวอื่น เช่น ไฮโดรควิโนน หรือเรตินอยด์ ในการรักษาฝ้า กระ และจุดด่างดำ ซึ่งสเตียรอยด์จะช่วยเสริมฤทธิ์และลดอาการข้างเคียงของไฮโดรควิโนนและเรตินอยด์ได้ดี
ผลข้างเคียงจากการใช้
การใช้ยาทาสเตียรอยด์ในความเข้มข้นสูง หากใช้ผิดวิธีและใช้เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวหนังเกิดอาการไหม้ แตกลายสีขาว มีรอยแดง ผดผื่นขึ้นง่าย ผิวบางและเส้นเลือดขยาย ถ้านำไปทาที่หน้าหรือบริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะจะทำให้เกิดสิวได้ ซึ่งรักษายากกว่าสิวทั่วไป และเมื่อผิวบางโดนอะไรจะแพ้ง่ายและมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ด้วย
วิธีสังเกตครีมอันตราย
1. ไม่มีฉลาก หรือฉลากไม่ครบถ้วน
ฉลากที่ถูกต้องจะเป็นภาษาไทย มีข้อความบังคับครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ วิธีใช้ ชื่อที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ ถ้าครีมทาผิวขาวตัวไหนไม่มีรายละเอียดเหล่านี้ก็ควรหลีกเลี่ยงเป็นดีที่สุด
2. เห็นผลไว แต่ราคาถูก
หากเป็นของถูกและได้ผลทำให้ผิวขาวเร็ว ต้องเดาเอาไว้ก่อนว่าเป็นครีมอันตราย เพราะครีมผิวขาวหลาย ๆ ยี่ห้อได้นำเอาส่วนผสมจากสารเคมีและเนื้อครีมที่ดีไปผสมกับสารปรอท ไฮโดรควิโนน และสเตียรอยด์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะส่วนผสม Whitening ที่มีคุณภาพอย่าง Alpha-arbutin มีราคาสูงมาก ทำให้ต้นทุนแพง
3. ลักษณะครีมเปลี่ยนแปลงไปหลังการเปิดใช้
ครีมกวนเองที่ผู้ผลิตจะซื้อครีมจากแหล่งต่าง ๆ แล้วนำมาผสม โดยไม่ได้ควบคุมคุณภาพ สิ่งที่มักจะสังเกตเห็นได้ชัดคือเมื่อทิ้งไว้นานสัก 1 เดือน ครีมจะเปลี่ยนสี มีลักษณะแยกน้ำแยกเนื้อ และบรรจุภัณฑ์ก็สีเปลี่ยนหรือผุกร่อนง่าย
4. คนขายให้ข้อมูลได้ไม่ละเอียด
ลองถามคนขายด้วยคำถาม เช่น ใช้เองไหม ผลิตที่ไหน เก็บได้นานเท่าไร แล้วมาพิจารณาดูว่าน่าเชื่อถือ มีความโปร่งใส พร้อมให้ตรวจสอบหรือไม่ ที่สำคัญคือถ้าครีมทาผิวขาวอันตราย คนขายก็จะไม่กล้าใช้ครีมนั้น ทำให้ตอบคำถามบางอย่างไม่ได้
5. ทดสอบครีมบนแขน
ทาครีมลงบนท้องแขน จากนั้นนำพลาสเตอร์มาปิดทับครีม แล้วเอาพลาสเตอร์อีกชิ้นแปะลงบนผิวในบริเวณใกล้เคียงกัน รอเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ลอกเอาพลาสเตอร์ออก สังเกตดูว่าหากตรงบริเวณที่ทาครีมขาวซีดผิดปกติกว่าอีกอัน แสดงว่ามีการแอบใส่ส่วนผสมของปรอทลงไป
6. ทดสอบด้วยผงซักฟอก
ละลายผงซักฟอกกับน้ำ เอาแบบเข้มข้นเลย แล้วเอาคอตตอนบัดปาดครีมขึ้นมา เอาครีมจุ่มลงไปในน้ำละลายผงซักฟอก ทิ้งไว้สัก 1-2 นาที แล้วนำขึ้นมาดู ถ้าครีมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีโกโก้ แสดงว่ามีสารไฮโดรควิโนนเกินขนาด
7. ใช้แล้วผิวไวต่อแสง
หากใช้ผลิตภัณฑ์แล้วเกิดอาการผิวหนังไวต่อแสง ผิวบาง เจอแดดร้อน ๆ จะรู้สึกแสบบริเวณผิวหนัง เกิดผื่นแดง เกิดฝ้า มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มีอาการวิงเวียนหน้ามืดบ่อยทั้งที่พักผ่อนเต็มที่ ก็ควรรีบตรวจเช็กและพบแพทย์โดยเร็ว
8. ใช้ชุดตรวจสอบสารต้องห้ามในเครื่องสำอางและอาหาร
ถ้าอยากเอาให้ชัวร์และง่ายด้วยละก็ แนะนำให้ใช้ชุดทดสอบเครื่องสำอาง ครีมทาหน้า ไม่ว่าจะเป็นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หรือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เช่น ชุดทดสอบสารปรอท ชุดทดสอบสารไฮโดรควิโนน ชุดทดสอบความเป็นกรด เป็นต้น แม้จะราคาหลักร้อย แต่ก็ทดสอบได้หลายครั้งและยังน่าเชื่อถือด้วย
หากสาวคนไหนไม่มั่นใจว่าครีมผิวขาวที่ซื้อมาจะปลอดภัยหรือไม่ ก็สามารถส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบสารอันตรายเบื้องต้นได้ที่ สถาบันโรคผิวหนัง (โครงการตรวจสารอันตรายในเครื่องสำอาง) 420/7 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือเข้าไปสืบค้นรายชื่อครีมหน้าขาว ครีมเถื่อน เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย ได้ที่ www.fda.moph.go.th
เช็กให้แน่ใจก่อนใช้ครีมทาผิวขาว เท่านี้สาว ๆ ก็ไม่ต้องเสี่ยงผิวพัง พร้อมทั้งป้องกันตัวเองจากอันตรายของครีมเถื่อนเหล่านี้ได้แล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : pr.moph.go.th, med.mahidol.ac.th, thaihealth.or.th, องค์การอาหารและยา
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อย่าปล่อยให้ตัวเองเป็นเหยื่อ มารู้เท่าทันอันตรายจากครีมผิวขาว พร้อมเช็กวิธีสังเกตครีมอันตราย เพื่อที่จะเลือกซื้อครีมทาหน้า ครีมทาผิว ได้อย่างปลอดภัยกันดีกว่า
อันตรายจากครีมผิวขาว ครีมเถื่อน สารพิษเพียบ !
จากการศึกษาของสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ซึ่งตรวจสารอันตรายในเครื่องสำอางจากที่ผู้ป่วยส่งตรวจ และจากที่ได้จากการซื้อ-ขายผ่านตลาดนัดและตลาดออนไลน์ ระหว่างปี 2561-2562 จำนวน 420 ตัวอย่าง พบว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่เรียกว่า “ครีมหน้าขาว” มีสารอันตรายถึงร้อยละ 25 นั่นคือในครีมหน้าขาวทุก ๆ 4 ตลับ จะพบสารอันตราย 1 ตลับเลยทีเดียว โดยสารปรอทเป็นสารอันตรายที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาคือ สารไฮโดรควิโนน และกรดวิตามินเอ
สารอันตรายข้างต้นมีกลไกที่ช่วยให้ผิวขาวได้ แต่ก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ดังนี้
1. สารปรอท
สารปรอทในครีมทาผิวขาว มีกลไกยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส ทำให้มีการสร้างเม็ดสีเมลานิน ลดลง จึงช่วยให้ผิวขาวขึ้น นอกจากนี้ปรอทยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด จึงป้องกันสิวได้ด้วย
ผลข้างเคียงจากการใช้
พิษต่อผิวหนัง : แม้ว่าสารปรอทจะมีผลทำให้เม็ดสีลดลง แต่พบว่าอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ หากใช้ในระยะยาวจะทำให้ผิวบางลง เกิดจุดดำที่ผิวเพิ่มขึ้น เกิดฝ้าถาวร หรือในบางจุดจะทำให้เกิดผิวด่างถาวร
พิษต่อระบบประสาท : ทำให้มีอาการสั่น ปลายประสาทอักเสบ การทรงตัวผิดปกติ ชักกระตุก ซึมเศร้าหรือเกิดประสาทหลอนได้
พิษต่อตับและไต : ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบและไตอักเสบได้ในระยะยาว เสี่ยงตับและไตวายเฉียบพลัน จนเสียชีวิตได้
พิษต่อระบบเลือด : ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง
พิษต่อลูกน้อยในครรภ์ : หากใช้ระหว่างตั้งครรภ์ สารปรอทจะดูดซึมสู่ทารก และมีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกสมองพิการและปัญญาอ่อนได้
สารไฮโดรควิโนนออกฤทธิ์โดยการยับยั้งกระบวนการทางเคมีของเซลล์สร้างเม็ดสี เมื่อปริมาณเม็ดสีลดลงจึงส่งผลให้ผิวขาวขึ้นได้ จากกลไกนี้ทำให้ยาไฮโดรควิโนนถูกนำมาใช้เป็นยาทารักษาผิวที่เป็นฝ้า กระ และจุดด่างดำ ซึ่ง อย. กำหนดให้ผสมสารไฮโดรควิโนนในการรักษาฝ้าได้ไม่เกิน 2%
ผลข้างเคียงจากการใช้เกินขนาด
พิษต่อผิวหนัง : มีอาการแสบร้อน ตุ่มแดง และภาวะผิวคล้ำมากขึ้นในบริเวณที่ทา หากใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรสีน้ำเงินอมดำได้ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง
พิษต่อระบบประสาท : ตัวยาจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีอาการสั่น หรือเกิดภาวะลมชัก หรือกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ยาได้
3. กรดวิตามินเอ (Retinoic acid)
กรดชนิดนี้มีผลรบกวนกระบวนการสร้างเม็ดสี กระตุ้นการแบ่งเซลล์ และเร่งการผลัดเซลล์ของผิวในชั้นเยื่อบุผิว ทั้งยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ใช้สร้างเม็ดสีอีกด้วย นอกจากนี้ยังป้องกันการสร้างสิวอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว
ผลข้างเคียงจากการใช้
พิษต่อผิวหนัง : ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ผิวหน้าลอก อักเสบ แพ้แสงแดดได้ง่าย อาจเกิดภาวะผิวด่างขาวหรือผิวคล้ำได้ชั่วคราว และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี ทำให้ผิวขาวขึ้น สเตียรอยด์เป็นสารที่ห้ามใส่ในเครื่องสำอาง มักใช้เป็นสูตรผสมกับยาตัวอื่น เช่น ไฮโดรควิโนน หรือเรตินอยด์ ในการรักษาฝ้า กระ และจุดด่างดำ ซึ่งสเตียรอยด์จะช่วยเสริมฤทธิ์และลดอาการข้างเคียงของไฮโดรควิโนนและเรตินอยด์ได้ดี
ผลข้างเคียงจากการใช้
การใช้ยาทาสเตียรอยด์ในความเข้มข้นสูง หากใช้ผิดวิธีและใช้เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวหนังเกิดอาการไหม้ แตกลายสีขาว มีรอยแดง ผดผื่นขึ้นง่าย ผิวบางและเส้นเลือดขยาย ถ้านำไปทาที่หน้าหรือบริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะจะทำให้เกิดสิวได้ ซึ่งรักษายากกว่าสิวทั่วไป และเมื่อผิวบางโดนอะไรจะแพ้ง่ายและมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ด้วย
1. ไม่มีฉลาก หรือฉลากไม่ครบถ้วน
ฉลากที่ถูกต้องจะเป็นภาษาไทย มีข้อความบังคับครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ วิธีใช้ ชื่อที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ ถ้าครีมทาผิวขาวตัวไหนไม่มีรายละเอียดเหล่านี้ก็ควรหลีกเลี่ยงเป็นดีที่สุด
2. เห็นผลไว แต่ราคาถูก
หากเป็นของถูกและได้ผลทำให้ผิวขาวเร็ว ต้องเดาเอาไว้ก่อนว่าเป็นครีมอันตราย เพราะครีมผิวขาวหลาย ๆ ยี่ห้อได้นำเอาส่วนผสมจากสารเคมีและเนื้อครีมที่ดีไปผสมกับสารปรอท ไฮโดรควิโนน และสเตียรอยด์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะส่วนผสม Whitening ที่มีคุณภาพอย่าง Alpha-arbutin มีราคาสูงมาก ทำให้ต้นทุนแพง
3. ลักษณะครีมเปลี่ยนแปลงไปหลังการเปิดใช้
ครีมกวนเองที่ผู้ผลิตจะซื้อครีมจากแหล่งต่าง ๆ แล้วนำมาผสม โดยไม่ได้ควบคุมคุณภาพ สิ่งที่มักจะสังเกตเห็นได้ชัดคือเมื่อทิ้งไว้นานสัก 1 เดือน ครีมจะเปลี่ยนสี มีลักษณะแยกน้ำแยกเนื้อ และบรรจุภัณฑ์ก็สีเปลี่ยนหรือผุกร่อนง่าย
ลองถามคนขายด้วยคำถาม เช่น ใช้เองไหม ผลิตที่ไหน เก็บได้นานเท่าไร แล้วมาพิจารณาดูว่าน่าเชื่อถือ มีความโปร่งใส พร้อมให้ตรวจสอบหรือไม่ ที่สำคัญคือถ้าครีมทาผิวขาวอันตราย คนขายก็จะไม่กล้าใช้ครีมนั้น ทำให้ตอบคำถามบางอย่างไม่ได้
5. ทดสอบครีมบนแขน
ทาครีมลงบนท้องแขน จากนั้นนำพลาสเตอร์มาปิดทับครีม แล้วเอาพลาสเตอร์อีกชิ้นแปะลงบนผิวในบริเวณใกล้เคียงกัน รอเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ลอกเอาพลาสเตอร์ออก สังเกตดูว่าหากตรงบริเวณที่ทาครีมขาวซีดผิดปกติกว่าอีกอัน แสดงว่ามีการแอบใส่ส่วนผสมของปรอทลงไป
6. ทดสอบด้วยผงซักฟอก
ละลายผงซักฟอกกับน้ำ เอาแบบเข้มข้นเลย แล้วเอาคอตตอนบัดปาดครีมขึ้นมา เอาครีมจุ่มลงไปในน้ำละลายผงซักฟอก ทิ้งไว้สัก 1-2 นาที แล้วนำขึ้นมาดู ถ้าครีมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีโกโก้ แสดงว่ามีสารไฮโดรควิโนนเกินขนาด
7. ใช้แล้วผิวไวต่อแสง
หากใช้ผลิตภัณฑ์แล้วเกิดอาการผิวหนังไวต่อแสง ผิวบาง เจอแดดร้อน ๆ จะรู้สึกแสบบริเวณผิวหนัง เกิดผื่นแดง เกิดฝ้า มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มีอาการวิงเวียนหน้ามืดบ่อยทั้งที่พักผ่อนเต็มที่ ก็ควรรีบตรวจเช็กและพบแพทย์โดยเร็ว
ถ้าอยากเอาให้ชัวร์และง่ายด้วยละก็ แนะนำให้ใช้ชุดทดสอบเครื่องสำอาง ครีมทาหน้า ไม่ว่าจะเป็นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หรือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เช่น ชุดทดสอบสารปรอท ชุดทดสอบสารไฮโดรควิโนน ชุดทดสอบความเป็นกรด เป็นต้น แม้จะราคาหลักร้อย แต่ก็ทดสอบได้หลายครั้งและยังน่าเชื่อถือด้วย
หากสาวคนไหนไม่มั่นใจว่าครีมผิวขาวที่ซื้อมาจะปลอดภัยหรือไม่ ก็สามารถส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบสารอันตรายเบื้องต้นได้ที่ สถาบันโรคผิวหนัง (โครงการตรวจสารอันตรายในเครื่องสำอาง) 420/7 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือเข้าไปสืบค้นรายชื่อครีมหน้าขาว ครีมเถื่อน เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย ได้ที่ www.fda.moph.go.th
เช็กให้แน่ใจก่อนใช้ครีมทาผิวขาว เท่านี้สาว ๆ ก็ไม่ต้องเสี่ยงผิวพัง พร้อมทั้งป้องกันตัวเองจากอันตรายของครีมเถื่อนเหล่านี้ได้แล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : pr.moph.go.th, med.mahidol.ac.th, thaihealth.or.th, องค์การอาหารและยา