ม้า อรนภา จ่อรอด ตบรุ่นน้องที่เกาหลี มาเอาผิดในไทยไม่ได้ เจ้าตัวถึงกับเข้ามาขอบคุณ

          ม้า อรนภา จ่อรอดคุก ไม่ต้องรับโทษใด ๆ หากเดินทางมาถึงไทย ด้านทนายและอัยการเผย กรณีความผิดลหุโทษ ตบตีทะเลาะวิวาทนอกราชอาณาจักร ไม่สามารถกลับมาเอาผิดในไทยได้ 
 
ม้า อรนภา

ภาพจาก Instagram maornapa

          จากกรณีโด่งดัง กับการที่ดาราหนุ่มคนหนึ่ง เดินทางไปเกาหลีใต้เพื่อไปศัลยกรรม โดยที่มีม้า อรนภา เป็นคนพาไป จนเกิดเหตุที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ที่ดาราหนุ่มรู้สึกเหนื่อยและอยากกลับไปพักผ่อน แต่ม้า อรนภา บอกให้ไปกินปูด้วยกัน ด้วยความไม่พอใจจึงทำให้ม้า อรนภา ตบหน้าดาราหนุ่มในห้างดัง พร้อมกับที่มีคลิปออกมาแบบชัด ๆ 

ทนายตั้ม ปล่อยคลิปดราม่ากินปู ตบหน้าสั่น ชัด ๆ เน้น ๆ ใครบอกทนายพูดเกินไป ?
 

ม้า อรนภา ตบรุ่นน้องที่เกาหลี

ภาพจาก ษิทรา เบี้ยบังเกิด เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ


           ล่าสุด เฟซบุ๊ก Sappisansook Yodmongkhon ซึ่งมีอาชีพทนาย ยืนยันว่า กรณีนี้เข้าข่ายผิดกฎหมายอาญา​ ม.391 ถือเป็นความผิดลหุโทษในเรื่องการใช้กำลังทำร้ายร่างกาย ทว่าคดีนี้ไม่สามารถนำมาฟ้องที่ไทยได้ คดีลหุโทษที่กระทำนอกราชอาณาจักร แม้ผู้ที่กระทำและผู้ที่ถูกกระทำจะเป็นคนไทย ก็ไม่สามารถนำมาฟ้องได้

            โดยจะพบว่า จากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 5 6 7 8 ไม่มีการระบุว่า ผู้ที่กระทำความผิดลหุโทษ ต้องรับโทษในราชอาณาจักร (แต่หากกระทำความผิดอาญาสามารถฟ้องได้) ซึ่งการกระทำของม้า อรนภา ไม่สามารถนำมาฟ้องร้องดำเนินคดีได้ที่ไทย จนม้าได้มาโพสต์สั้น ๆ ว่า ขอบคุณค่ะ

            ส่วนในประมวลกฎหมาย ป.วิอาญา มาตรา 20 ที่ว่า กรณีความผิดที่มีโทษตามกฎหมายไทย ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุด หรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่ ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนก็ได้

            ป.วิอาญา มาตรา 22 มีหลักว่า เมื่อความผิดเกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้น แต่ถ้า

            (2) เมื่อความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร ให้ชำระคดีนั้นที่ศาลอาญา ถ้าการสอบสวนได้กระทำในท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ในเขตของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้นด้วย

            ทั้งนี้ การที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดนอกราชอาณาจักรนั้น ไม่ใช่ว่าจะขอให้ลงโทษตามกฎหมายอาญามาตราใดก็ได้ การพิจารณา ป.วิอาญา จะต้องสอดคล้องและเป็นไปตาม ป.อาญา และต้องสอดคล้องกับความผิดที่กระทำนอกราชอาณาจักรตามมาตรา 7,8,9 หรือกระทำผิดบนเรือไทยหรืออากาศยานไทยนอกราชอาณาจักร แต่กรณีม้า อรนภา กระทำผิดตามกฎหมาย ม.391 ไม่อยู่ในบังคับ​ของ ป.วิอาญา ม.​20 หรือ ม.22(2) ที่จะนำผู้กระทำผิดมารับโทษตามกฎหมายอาญา​ที่ศาลไทยได้

ม้า อรนภา ตบรุ่นน้องที่เกาหลี

ภาพจาก ษิทรา เบี้ยบังเกิด เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ

รองโฆษกอัยการสูงสุดเผย คดีความในต่างประเทศ เอาผิดในไทยได้ แต่ต้องไม่ใช่ลหุโทษ


            ในขณะที่ช่อง 3 รายงานว่า นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส. ) หากผู้เสียหายต้องการดำเนินคดี ก็สามารถกลับมาแจ้งความได้ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้อัยการสูงสุด รับผิดชอบเป็นพนักงานสอบสวน ซึ่งอัยการสูงสุดสามารถที่จะแต่งตั้งพนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้ ทั้งนี้ ก็สามารถที่จะไกล่เกลี่ยได้เช่นกัน หากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายยินยอม

            อย่างไรก็ตาม หากการทำร้ายนั้น ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ หรือเป็นความผิดลหุโทษ จะไม่เข้าเงื่อนไขที่จะสามารถดำเนินคดีในประเทศไทยฐานความผิดนอกราชอาณาจักรได้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ซึ่งการวินิจฉัยว่าจะเข้าข่ายความผิดมาตรา 295 หรือเป็นเพียงความผิดลหุโทษ โดยทั่วไปจะยึดจากผลวินิจฉัยของแพทย์ว่าการถูกทำร้ายนั้น จำเป็นต้องได้รับการเข้ารักษาพยาบาลไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือไม่

            อย่างไรก็ตาม ม้า อรนภา มีกำหนดกลับถึงไทยในวันที่ 29 พฤศจิกายน และจะตั้งโต๊ะแถลงข่าว วันที่ 30 พฤศจิกายน

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ม้า อรนภา จ่อรอด ตบรุ่นน้องที่เกาหลี มาเอาผิดในไทยไม่ได้ เจ้าตัวถึงกับเข้ามาขอบคุณ อัปเดตล่าสุด 29 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16:31:43 24,451 อ่าน
TOP
x close