ฝันดี - ฝันเด่น คู่แฝดจิตอาสากู้ภัย เล่าประสบการณ์ช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง ยันถ้ำนี้เป็นวนอุทยานเข้าไปเที่ยวได้ ไม่ใช่ถ้ำต้องห้าม พร้อมเคลียร์ดราม่าไปช่วยเพราะอยากดัง
ภาพจาก รายการ คุยแซ่บShow
เป็นนักแสดงที่เข้าร่วมทีมกู้ภัยจิตอาสาช่วย 13
ชีวิตติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย สำหรับ ฝันดี และฝันเด่น
จรรยาธนากร
ฝาแฝดชื่อดังคนบันเทิงที่หลายคนทราบกันดีว่าทั้งคู่เป็นจิตอาสากู้ภัย
และในวันนี้ 2 ฝาแฝดจะมาแชร์ประสบการณ์การค้นหา
พร้อมทั้งอัปเดตสถานการณ์จากคนที่ลงพื้นที่จริง ๆ ในรายการคุยแซ่บShow
ทางช่อง One 31 ที่มีหนิง ปณิตา และ เป็กกี้ ศรีธัญญา เป็นพิธีกร
พร้อมเปิดใจโต้ประเด็นทีมกู้ภัยเมืองไทยไร้ประสิทธิภาพ
เคลียร์คำครหาไปช่วยเด็กเพราะอยากดัง
งานที่พวกพี่ทำกันอยู่ตอนนี้คือทำอะไร ?
เล็ก
: เป็นอาสาสมัคร จิตอาสา ปัจจุบันก็จะมีอาสาสมัครมากขึ้น
ในสังคมไทยนี่คำว่าจิตอาสามีบทบาทมากในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนใช้เวลาที่ตัวเองมีเพื่อสังคม
ทำมานานเท่าไหร่แล้ว ?
เล็ก : นานแล้ว ประมาณ 20 กว่าปีแล้ว
ทำมานานจนตอนนี้มีชมรมเป็นของตัวเองแล้ว ?
ใหญ่ : เป็นเหมือนกลุ่มชมรมออฟโร้ดมากว่า ที่มีความคิดเหมือนกัน ชอบในเรื่องของงานกู้ภัยก็มารวมกลุ่มกันได้หลายปีแล้ว
ตอนนั้นที่มีข่าวเด็ก 13 คน ติดในถ้ำ พี่คิดจะทำอะไร ?
ภาพจาก รายการ คุยแซ่บShow
เล็ก
:
พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นเราก็พอจะมีเครือข่ายทางภาคเหนือที่มีปฎิสัมพันธ์อันดี
ในตอนนั้นทางทีมศิริกรณ์กับทางอัมรินทร์ใต้เค้าก็ได้มีการเข้าสู่หน้างาน
ก็มีการพูดคุย ส่งข้อมูลกัน
ใหญ่ : ลักษณะท่าทางเป็นยังไง ลักษณะถ้ำ
ปริมาณน้ำเป็นยังไง เข้าไปได้ขนาดไหน เราก็เอาข้อมูลมาคุยกัน
เราควรจะไปช่วยกันมั้ย
เราไม่ได้ไปเพราะมันเป็นเคสที่ใหญ่หรือเป็นที่รับรู้ของสาธารณะชน
เราก็คิดว่าเป็นแค่เด็กติดถ้ำ
ตอนที่มีคนแจ้งว่าเด็กติดถ้ำพี่คิดมั้ยว่าจะสโคปใหญ่ ?
เล็ก
: ไม่เลย เพราะภาพที่เค้าส่งให้ดูเป็นภาพที่เข้าไปมุดไปในถ้ำ แล้วก็ไปหา
ไปหลงอยู่ตรงไหน ใน 24 ชม. ที่เกิดเหตุผมก็เช็คข้อมูลอยู่ตลอดเวลา
เช็คเจ้าหน้าที่ด้วย เพราะพวกเรามีหน้าที่การงานกันอยู่แล้ว
เรื่องกันลางานอะไรต้องเป็นขั้นตอน
เมื่อเราไปถึงมันเป็นระบบการสั่งการแบบเมืองนอกเราก็ไปรายงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด
แต่ไม่ใช่เข้าพบนะ คือไปลงทะเบียนที่โต๊ะว่าเป็นใคร กี่คน เอาอะไรมาบ้าง
พอลงทะเบียนแล้วพี่ไปเห็นสโคปงานแล้วเป็นยังไง ?
เล็ก
: เราเห็นหน้าเดียวคือตรงปากถ้ำ
ในฐานะที่เราเป็นคนนอกเราก็จะไปเจอคนในพื้นที่ก่อนไม่ว่าจะเป็นอัมรินทร์ใต้
ศิริกรณ์ แสงธรรม สยามรวมใจ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่อยู่ตรงนั้น
เพื่อไปคุยกันแล้วก็รวมตัวกันแล้วใช้ชื่อเดียวเลย
การจัดสรรงานมาก็จะมีตัวแทนกลุ่มไปคุยกับทหาร
ของพี่ไปทำอะไร ?
เล็ก
: ก็เป็นการค้นหาในบริเวณนั้นก่อนในหน้าถ้ำและรอบข้าง กิจแรก ๆ
เลยคือทหารจะเป็นฝ่ายค้นหาถ้าเค้าเจอปล่องชิ้นอะไรขึ้นมาเค้าก็จะให้ Rescue
เข้าไป
เรียกว่ายากที่สุดของการทำกู้ภัยเลย ?
เล็ก : ใช่
เพราะเราเป็นมนุษย์เมือง ต้องยอมรับอย่างงี้ก่อน ความชำนาญหรือเทคนิคต่าง ๆ
มันจะสู้คนในพื้นที่ไม่ได้ ภูมิประเทศแต่ละที่ไม่เหมือนกัน
ตอนที่พวกพี่ ๆ ค้นหาเด็กทำกันวันที่หนึ่ง วันที่สองไปเรื่อย ๆ แล้วไม่เจอเด็ก ความรู้สึกเป็นไง ?
ภาพจาก รายการ คุยแซ่บShow
เล็ก : ความกดดันมันเกิดขึ้นอยู่แล้ว มันไม่ได้แบกแค่ตัวเองไป ไม่ได้แบกแค่สิ่งของ แต่มันแบกความหวัง
ใหญ่
: แบกความหวังนี่ไม่ได้เกิดจากความหวังที่ทุกคนมาฝากเราไว้นะ
แต่เป็นความหวังที่เราตั้งไว้ ที่เราฝึกมา ที่เราทำสิ่งต่าง ๆ
มันอยู่ในจิตวิญญาณของนักกู้ภัย มันเลยยิ่งกดดัน
อะไรคือความหวังของการทำงานตรงนี้ ?
เล็ก
:
ในฐานะที่เรียกตัวเองว่ากู้ภัย ไม่ว่าจะผ่านไป 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง 72
ชั่วโมง ผมยังให้ความหวังเสมอว่าผู้ประสบภัยยังคงมีลมหายใจ
ผมจะไม่ตีค่าว่าผ่านไป 4 วัน 5 วัน จะหมดหวังไม่ได้
ตราบใดที่เราไม่ได้สัมผัสตัว ไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าเป็นอย่างงั้น
ความหวังคือสิ่งที่สำคัญต่อการช่วยเหลือ
ทำงานวันละกี่ชั่วโมง ?
เล็ก : ไม่กำหนด เริ่มแต่ไม่มีจุดจบก็ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทีมผมทำอยู่ทีมเดียว มีอยู่อีกหลายทีมเลย
พี่ไปถึงตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ ?
เล็ก : เหตุเกิด 23 วันที่ 24 หาข้อมูล เดินทาง 24 กลางคืน ถึง 25 ตอนเที่ยง
ตอนเค้าบอกว่าเจอเด็กแล้ว พี่รู้สึกยังไงบ้าง ?
ภาพจาก รายการ คุยแซ่บShow
เล็ก
: สำหรับตัวผม ผมเพิ่งเดินลงเขามา ยังไม่ถึงพื้นราบ
ตอนแรกข่าวลือในแต่ละวันเยอะมาก พวกข่าวลือ
ข่าวหลอกมันบั่นทอนความรู้สึกของคนมาก ล้วนแล้วแต่ทัศนวิสัยการทำงานแย่ลง
ใหญ่ : มันทำให้เจ้าหน้าที่ชะลอ ต้องกลับมาหาข้อมูล มันเหมือนตัดโอกาสช่องเวลาของวินาที
เล็ก
: เราพูดในวันนี้คือเราเจอเด็กแล้ว แต่ในวันนั้นเราไม่เจออะไรเลย
มันคนละความรู้สึกกัน เหมือนฟุตบอลอะ ครึ่งแรกเราเจอแล้ว
ทีนี้ครึ่งหลังเนี่ยเหนื่อยกว่า มันมีแรงกดดัน
มันไม่เวลาที่ไม่มีการต่อเวลา
ใหญ่ : มันเป็นการคาดหวังที่รู้แล้วว่าเด็กอยู่ตรงไหน น้ำหนักทั้งหมดจะตกไปสู่ท่านผู้ว่าฯ ที่ทุก ๆ คนคาดหวังว่าจะต้องทำยังไง
ตอนที่เค้าบอกว่าเจอเด็กแล้ว แล้วเรารู้ว่าเป็นข่าวจริง ความรู้สึกแรกรู้สึกยังไง ?
เล็ก
:
นิ่งนะ มันไม่ได้เหมือนในหนังนะจะมาเฮ เพราะเราเดินมาแล้วหลายวันมาก
พอผู้ว่าแถลงแล้วมันไม่ได้มีคำพูดเหมือนในหนัง หันหน้ามองกันว่าเจอแล้ว
ในการกู้ภัยครั้งนี้มันคือ 1 ภารกิจคือการตามหาเด็กให้เจอ
ฉะนั้นไม่ว่าคุณจะมาจากกู้ภัยใดเพราะฉะนั้นมันคือ 1 เรื่อง
ไม่ว่าใครจะเจอมันคือเรื่องเดียวกัน ใหญ่ : ดีใจ มีอยู่แล้ว
ชื่นใจในสิ่งที่เราลงแรง เราไป เราไม่ได้คาดหวังว่าเราต้องเจอเป็นคนแรก
แต่เป็นใครก็ได้ที่เข้าไปในที่นี้แล้วเจอ เราก็รู้สึกดีใจ
รู้สึกอย่างไรที่มีคอมเมนต์ว่าทีมงานของไทยทำงานสู้ต่างประเทศไม่ได้ ?
ใหญ่
: ต้องอย่าลืมว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ แล้วนะ
มันมีเรื่องของโครงสร้าง เรื่องของน้ำหนัก กายภาพต่าง ๆ
ดังนั้นศักยภาพของนักกู้ภัย ของกองทัพ มีพร้อมหมด
เพียงแต่ว่าสิ่งที่เราได้รับจากต่างประเทศที่เหมือนเค้าเก่งกว่าก็คือเค้ามีประสบการณ์
เราถึงต้องใช้สิ่งนี้มาเรียนรู้
แล้วกับคอมเมนต์ที่พูดถึงเด็กว่าไปเที่ยวทำไมในนั้น อยากพูดอะไร ?
ใหญ่
:
มันคือที่เที่ยวอะ ข้อผิดพลาดของมนุษย์แต่ละคนมีอยู่เสมอ
สิ่งที่เค้าไปมันไม่ใช่หุบเขาต้องห้าม หรือมีเขตกั้นห้ามเข้าโดยเด็กขาด
คือวนอุทยาน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนึง ใครก็เข้าได้ตามเวลาที่กำหนด
น้องเข้าไปไม่ผิดเวลา เจ้าหน้าก็ไม่ได้ผิด ก็ยังเปิดทำการ
เพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
แล้วเข้าไปเค้าก็เข้าไปตามเส้นทางที่เส้นทางที่เคยมีการสำรวจไว้แล้ว
สิ่งที่มันเกิดขึ้นก็คือธรรมชาติกับอุบัติเหตุมันเกิดพร้อมกัน
สรุปคือถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอนคือสถานที่ที่เราไปท่องเที่ยวได้ ?
ภาพจาก รายการ คุยแซ่บShow
เล็ก : ใช่ วนอุทยาน
ใหญ่ : มีการเข้าออก มีเจ้าหน้าที่ มีรีสอร์ท มีโรงแรม มีอะไรพัก มีร้านอาหาร มีที่ท่องเที่ยว ไม่ใช่ถ้ำปิด
พูดถึงโค้ชเอกหน่อยเห็นบอกว่ามีร่างกายอ่อนแอที่สุด ?
เล็ก
: มันเป็นความเสียสละ เป็นความรับผิดชอบในฐานะที่โตกว่าทุกคนด้วย
แล้วด้วยหมวกที่สวมใส่เป็นโค้ชด้วย
ในความเป็นจริงแล้วเราควรมองว่ามันคืออุบัติเหตุ
มันไม่มีใครอยากจะพาใครเข้าไปอย่างงี้ เรื่องดราม่าเกิดขึ้นได้ตามกระแส
เมื่อน้อง ๆ ออกมาได้จะมีข้อมูลต่าง ๆ
มากกว่าที่จะทำให้คนได้กระจ่างว่าเกิดอะไรขึ้น
เด็ก ๆ ต้องติดอีก 4 เดือนจริงมั้ย ?
เล็ก
: ไม่ใช่ มันเป็นแผนทางกองทัพเรือ
คือถ้าคนปกติที่อยู่ตรงนั้นเค้าจะรู้ว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนถ้ำหลวงจะค่อย ๆ
เพิ่มประมาณน้ำมากขึ้น และกว่าจะหมดฝนและกว่าน้ำจะออกจากถ้ำเนี่ยใช้เวลา 4
เดือน แต่ถ้าเราช่วยออกมาก็คือจบ แต่มันเป็นการประมาณ
แล้วเด็กว่ายน้ำก็ไม่เป็น ไม่เคยดำน้ำแล้วจะทำยังไง ?
ใหญ่
:
ก็เค้าถึงมีแผน 2 แผนออกมาไง แผนที่ 1 ก็คือเอาออกจากการดำน้ำ
ทางช่องเดิมที่เค้าเคยเข้า แผนที่ 2 คือหาจากพื้นที่สูงแล้วโรยตัวไปเอา
ถ้าย้อนกลับมาในเรื่องของโค้ช เค้าจะเป็นบุคคลที่น่าสงสารที่สุด
ถ้าเป็นผมนะ เจอเหตุการณ์อย่างนี้ ผมยอมตายในถ้ำดีกว่า เพื่อแลกกับเด็ก
หรือถ้าออกมาแล้วผมโดนปากคนครอบยิ่งกว่าถ้ำ เหมือนตายทั้งเป็นยิ่งกว่า
มันไม่มีใครอยากให้เกิด
เกิดอะไรขึ้นถึงกลับมา กลับมาคือต้องกลับมาทำงาน ?
ภาพจาก รายการ คุยแซ่บShow
เล็ก
: ไม่ใช่ ประเด็นนั้นประเด็นรอง
ประเด็นหลักเลยคือทีมเราทั้งหมดไปเพื่อตามหา
เมื่อค้นหาแล้วกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในทีมเจอ
นั่นคือแสดงว่าภารกิจนั้นสำเร็จในเบื้องต้นแล้ว
หลังจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นการช่วยเหลือ
ฉะนั้นเมื่อเรามีกรอบอาชีพเราไม่ได้มีหน้าที่นั้น เราเป็นจิตอาสาประชาชน
ใช้เวลา 10 วันที่ไปก็สมควรแล้ว แต่เราไม่ได้กลับทั้งหมด ทั้งชุด
ยังมีทีมเหลืออีกนะ อีก 8 คนนี้เค้าหาช่อง ปล่องอื่นที่อาจจะเป็นทางออกได้
ใหญ่
: สิ่งที่เราทำทั้งหมดในฐานะที่เราเป็นดาราด้วย
เราก็มาสื่อสารประชาสัมพันธ์รับรู้ในสิ่งที่อยากจะรู้ว่าอะไรเป็นแบบไหน
สิ่งที่เราไปคือสิ่งที่เราเห็นและสิ่งที่เค้าทำ
สิ่งที่เราเห็นด้วยตาคือทุกหน่วยเค้าทำอะไร ปัญหาที่เกิดขึ้นมันคืออะไร
เราเล่าแบบชาวบ้านสู่ชาวบ้าน
ภาพจาก รายการ คุยแซ่บShow
ติดตามรายการ คุยแซ่บShow
ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 14.00-15.00 น. ทางช่อง one31 Facebook Page :
คุยแซ่บShow รับชมย้อนหลังได้ที่ Youtube Channel : Orange Mama