x close

กฎหมายแรงงานกับผู้หญิงตั้งครรภ์




กฎหมายแรงงานกับผู้หญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Issue)

          ภาครัฐตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงออกกฎหมายเกี่ยวกับการทำงานของผู้หญิงไว้ เช่น มาตรา 15 บัญญัติ "ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกัน เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจปฏิบัติเช่นนั้นได้" มาตรา 16 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้นายจ้างหรือหัวหน้างาน กระทำการล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงหรือเด็ก" และมาตรา 43 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์"

          กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดโทษของผู้ที่กระทำฝ่าฝืนกฎหมายไว้ด้วย กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างผู้หญิงเพราะตั้งครรภ์ จะต้องมีโทษจำคุก 6 เดือน และปรับไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนกรณีนายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายหญิงไม่เท่าเทียมกัน หรือกระทำล่วงละเมิดทางเพศ ต้องมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท แต่ถ้าหากการล่วงละเมิดทางเพศนั้น รุนแรงจนถึงขั้นเป็นการทำอนาจารหรือข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายอาญาด้วยอีกส่วนหนึ่ง นายจ้างหรือผู้ที่กระทำก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมายอาญา

          นอกจากนี้ กฎหมายคุ้มครองแรงงานยังมีบทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานหญิงไว้ในมาตรา 38 ถึง 42 ด้วย โดยได้กำหนดงานบางประเภท ซึ่งห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างผู้หญิงทำงานที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น ก็เป็นงานใช้แรงงานหนักและงานเสี่ยงอันตรายต่าง ๆ และห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 น. ถึงเวลา 06.00 น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานหนักและอันตราย กฎหมายยังกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิ์ลาเพื่อคลอดบุตรได้ไม่เกินเก้าสิบวันด้วย และถ้าหากลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีใบรับรองของแพทย์มาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ ลูกจ้างก็มีสิทธิ์ขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ด้วย




  คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นิตยสาร Pregnancy Issue
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
กฎหมายแรงงานกับผู้หญิงตั้งครรภ์ อัปเดตล่าสุด 17 มีนาคม 2553 เวลา 16:51:39
TOP