x close

เมื่อคุณแม่เป็น Aids

ตั้งครรภ์

เมื่อคุณแม่เป็น Aids
(รักลุก)

           การพิจารณาให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น คุณแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ จะมีอาการของเริมได้บ่อยครั้งกว่าผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อเอดส์ ถ้าเชื้อ herpes simplex virus ถ่ายทอดไปยังทารกและเกิดการติดเชื้อเริมในทารกแรกเกิด จะมีอาการรุนแรง ถึงแม้จะได้รับการวินิจฉัยและรักษาในระยะแรกก็ตาม ควรรักษาเริมที่มีอาการในระหว่างตั้งครรภ์ และให้ยาเพื่อกดอาการในรายที่เป็นบ่อย

           สตรีที่มีอาการเริมขณะเจ็บครรภ์หรือมีน้ำเดิน ถือเป็นข้อบ่งชี้ในการผ่าท้องคลอด ส่วนการให้ acyclovir เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเริมสู่ทารกแรกเกิดในไตรมาสสุดท้าย คุณหมอยังไม่แนะนำครับ ส่วนคุณแม่ที่เป็นวัณโรค ยาที่รักษาอาจก่อให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้ หมอจะเริ่มการรักษาหลังจากไตรมาสแรกไปแล้ว ในคุณแม่ที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค แต่ไม่ติดหรือมีเพียงผลทดสอบที่ผิดหนังเป็นผลบวก ควรให้ยารับประทานในการป้องกันและควรได้รับวิตามินบี 6 ร่วมด้วยเพื่อป้องกันภาวะประสาทอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนและการรักษา

           คุณแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ต้องได้รับการติดตามเรื่องภาวะโภชนาการ และน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ หากพบความผิดปกติคุณหมอจะให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหา

           ในระยะแรกของการตั้งครรภ์อาจมีอาการแพ้ท้องทำให้คลื่นไส้อาเจียนมาก คุณแม่บางคนอาจมีภาวะขาดน้ำ และมีภาวะกรดในเลือด โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานคุณแม่บางคนอาจมีภาวะขาดน้ำ และมีภาวะกรดในเลือด โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ คุณหมอเริ่มให้ยาในระยะไตรมาสที่ 2 เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ ดังกล่าว และจะช่วยลดความเสี่ยงต่อความพิการของทารกจากยาต้านไวรัส

           คุณแม่ที่รับประทานยาต้านไวรัส อาจมีอาการตับอักเสบ หากมีระดับเอนไซม์ของตับสูงเกิน 5 เท่า ถ้าคุณแม่ตัวเหลือง ตาเหลือง ต้องรีบหยุดยาต้านไวรัส

           ในภาวะปกติที่ไม่มีการให้ยาต้านไวรัสหรือให้การป้องกันอย่างอื่น อัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกจะมีประมาณร้อยละ 25

           ในประเทศไทย หลังจากเริ่มมีการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก พบว่าอัตราการถ่ายทอดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก ลดลงเป็นร้อยละ 9.47

           icon การติดเชื้อเอดส์จากมารดาสู่ทารกประมาณร้อยละ 50-60 จะเกิดขณะเจ็บครรภ์คลอด และขณะคลอด

           ในช่วงเวลาของการถ่ายทอดเชื้อเอดส์และปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ จะช่วยในการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกได้ดีขึ้น เชื้อเอดส์ไม่สามารถติดเชื้อเข้าไปในเซลล์ไข่ได้ เนื่องจากไม่มีตัวรับไวรัสที่ผิวของเซลล์ไข่ แต่เชื้อเอดส์สามารถติดเชื้ออสุจิได้ หลังติดเชื้อแล้วเชื้ออสุจิมักจะไม่เคลื่อนไหวทำให้ไม่ผสมกับไข่

           นอกจากนี้ การติดเชื้อเอดส์ขณะไตรมาสแรกมีโอกาสทำให้เกิดการแท้ง จึงทำให้ทารกที่ติดเชื้อจากระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์มีจำนวนน้อย ในขณะคลอดทารกอาจได้รับเชื้อโดยสัมผัสเลือด และสิ่งคัดหลั่งที่ติดเชื้อจากคุณแม่ ตลอดจมจากน้ำนมแม่ หากได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่ แม้ว่าการติดเชื้อจะเกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์ แต่พบว่าร้อยละ 80 เกิดขึ้นในระยะคลอดและหลังคลอด จึงทำให้การให้ยาต้านไวรัส และการผ่าตัดคลอดก่อนการเจ็บครรภ์ สามารถป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัสเอดส์จากแม่สู่ลูกได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการถ่ายทอดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก

           แยกออกเป็นระยะของโรคและเชื้อเอดส์ ความรุนแรงของสายพันธุ์ของไวรัสที่จะติดเซลล์ รวมทั้งคุณสมบัติของตัวรับไวรัสบนผิวเซลล์ทารก มีผลต่อการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก การติดเชื้อส่วนใหญ่จะเกิดในระยะคลอดบุตร บางครั้งเชื้ออาจผ่านเข้าไปในกระแสเลือดทารกได้ โดยเซลล์แม่ที่ติดเชื้อหลุดเข้าไปโดยตรง

           ส่วนการได้รับนมมารดา จะพบความเสี่ยงประมาณร้อยละ 14-29 ความชุกในการพบเชื้อเอดส์ในน้ำนมประมาณร้อยละ 58 โดยพบมากที่สุดใน 3 เดือนแรกหลังคลอด และมีความสัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำของมารดา การติดเชื้อในระยะหลังคลอดพบร้อยละ 66 เกิดในช่วง 6 สัปดาห์แรก แต่อย่างไรก็ตามอัตราการติดเชื้อยังขึ้นกับภูมิคุ้มกันของทารก

           การติดเชื้อเอดส์จากมารดาประมาณร้อยละ 50-60 จะเกิดขณะเจ็บครรภ์คลอด และขณะคลอด การแตกของถุงน้ำคร่ำนานกว่า 4 ชั่วโมง พบว่ามีการถ่ายทอด จากแม่สู่ลูกเพิ่มมากขึ้น การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องก่อนการเจ็บครรภ์ จะช่วยป้องกันการถ่ายทอดระหว่างเลือดแม่และลูกในระยะเจ็บครรภ์ และลดโอกาสของลูกที่จะสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งในช่องคลอด ทำให้สามารถป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกได้ โดยมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อลดลงร้อยละ 50

           ความก้าวหน้าของยาต้านไวรัส และการเข้าถึงการบริการของแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ เป็นไปได้ง่ายมากขึ้นกว่าอดีต ทำให้คุณแม่ติดเชื้อมีอายุเฉลี่ยยาวขึ้น พร้อมกับมีช่วงที่สุขภาพดีนานขึ้น โอกาสในการตั้งครรภ์ในมารดาที่คิดเชื้อเอดส์ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทั้งการตั้งครรภ์แรกและหลัง คุณแม่เองอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่หากคุณพ่อไปซุกซนรักเชื้อมา ก็อาจเจอปัญหาเรื่องนี้ได้ ระวังไว้ด้วยนะครับ


เรื่องราวผู้หญิง ความสวยงาม แฟชั่น ความรัก มากมาย คลิกเลย

คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ปีที่ 28 ฉบับที่ 328 พฤษภาคม 2553

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เมื่อคุณแม่เป็น Aids อัปเดตล่าสุด 18 มิถุนายน 2553 เวลา 15:32:16
TOP