x close

รักมั่น...จะหมั้นหมาย

แต่งงาน


รักมั่น...จะหมั้นหมาย (i Do)

เรื่อง : Supatha

          แม้การจัดพิธีแต่งงานในปัจจุบันจะรวมพิธีการต่าง ๆ มาประกอบพิธีในวันเดียวกัน เพื่อความสะดวก แต่พิธีหมั้นยังคงเป็นพิธีที่เปี่ยมไปด้วยระเบียบแบบแผน อันเป็นเอกลักษณ์ มีขั้นตอนเฉพาะตัว มีระเบียบแบบแผนที่งดงาม ไม่แม้พิธีแต่งงานเช่นเดียวกัน

          "การหมั้น" เปรียบเสมือนการตีตราจอง หรือการจับจองกันและกันเอาไว้ก่อน ถือเป็นหลักประกันความรักของหนุ่มสาว ก่อนที่จะจูงมือเข้าสู่ประตูวิวาห์ ถ้าจะมองถึงวัตถุประสงค์อีกด้านหนึ่ง การหมั้นก็คือการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาว ได้ศึกษาอุปนิสัยใจคอกันมากขึ้น รู้จักเรียนรู้กันและกัน โดยไม่ให้เป็นที่ติฉินนินทาของคนทั่วไป ถือเป็นผลดีต่อชีวิตคู่ในอนาคต เพราะเมื่อศึกษานิสัยใจคอกันมากขึ้นแล้ว จะทำให้การปรับตัวเข้าหากันเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

          ในสมัยก่อนการแต่งงานของลูกสาวถือเป็นงานออกหน้าออกตาใหญ่โต ฝ่ายหญิงจะเรียกร้องของหมั้น ที่มีราคาแพงอย่างทองคำ จึงทำให้เป็นคำพูดติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า "สินสอดทองหมั้น" ซึ่งประเพณีโบราณถือว่าเจ้าสาวจะนำไปเป็นเครื่องแต่งตัว ในวันแต่งงานนั่นเอง โดยในธรรมเนียการหมั้นจะมี "ขันหมากหมั้น" ซึ่งถือเป็นการวางมัดจำว่า ฝ่ายหญิงที่ถูกหมั้นหมายแล้วจะไม่ชอบพอกับใครไม่ได้อีก หรือผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะยกให้ใครอีกไม่ได้เด็ดขาด

          ส่วนในพิธีหมั้นหรือการยกขันหมากหมั้น มักจะทำก่อนวันแต่ง แต่ในบางพื้นที่การยกขันหมากหมั้นจะทำในวันเดียวกับวันแต่งงาน ก่อนที่พระสงฆ์จะมา หรืออาจทำพิธีสวมแหวนต่อหน้าพระสงฆ์ แต่ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะไม่มีขันหมากหมั้น จะมีขันหมากแต่งเลย เพราะนิยมหมั้นและแต่งในคราวเดียว จะสวมแหวนสวมเครื่องเพชรเครื่องทองจากเปิดขันหมาก และโรยถั่วงาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หรือถ้าบางบ้านจะอยากให้มีการยกขันหมากหมั้น เกิดขึ้นก่อนวันแต่งจริง ๆ ก็มักจะมีก่อนถึงวันแต่งงาน

ขันหมาก

          สำหรับขั้นตอนการหมั้น จะเริ่มตั้งแต่ฝ่ายชายเป็นผู้จัดขบวนขันหมาก โดยมีเฒ่าแก่ของฝ่าชาย นำหน้าตามด้วยขันหมาก 3 ขัน หรือ 2 ขัน ซึ่งถือว่าเป็นของสำคัญ และตรงนี้อาจมีของอย่างอื่นร่วมขบวนไปด้วยก็ได้ เช่น ขนม นม เนย และผลไม้ต่าง ๆ มีชายหนุ่มและผู้ติดตาม แต่ในสมัยโบราณไม่จำเป็นต้องให้ฝ่ายชายที่จะหมั้นไปด้วย เพราะเขาจะไม่มีการสวมแหวนกัน เพียงแต่เอาของหมั้นไปขอหมั้นฝ่ายหญิงไว้เท่านั้น แต่ปัจจุบันมักนิยมใช้แหวนเพชรเป็นสักญลักษณ์แห่งสัญญา ฝ่ายชายจึงต้องเป็นผู้ไปสวมแหวนหมั้นให้ฝ่ายหญิงด้วยตัวเอง นอกจากจะแฝงไปด้วยความงดงามของวัฒนธรรมแล้ว ยังจะแฝงไว้ด้วยภาพของความโรแมนติกอีกด้วย

          เมื่อขบวนขันหมากไปถึงบ้านฝ่ายหญิงแล้ว ก็จะมาผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาต้อนรับเพื่อเชิญเข้าบ้าน โดยจัดเด็กหรือผู้ถือขันมีพานรอง ใส่พลูจีบยาวต่อยอด และหมากทั้งลูก เจียนเปลือกซอยให้เป็นฝอยมาเชิญ เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะต้องใส่ซองเงินหรือของรางวัล ลงในขันเชิญคล้ายกับเป็นการเปิดทางอย่างการกั้นประตูเงินประตูทอง เมื่อผู้ใหญ่ฝ่ายชายมานั่งตรงที่ที่ฝ่ายหญิงจัดไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ก็จะรอฤกษ์ จากนั้นเฒ่าแก่ฝ่ายชายจะออกนามฝ่ายหญิงที่ขอหมั้น แล้วเลื่อนขันหมากให้แก่ฝ่ายหญิง ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะเปิดผ้าคลุมขัน ตรวจของหมั้น เมื่อเห็นว่าถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จะมอบให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อนำไปถ่ายของออก ฝ่ายหญิงก็จะใส่ของชำร่วยให้แก่ผู้เชิญขันหมาก และของอื่น ๆ

          สำหรับเฒ่าแก่ฝ่ายชาย บิดารมารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง จะเป็นผู้แจกให้ด้วยตัวเอง จากนั้นจึงเป็นอันเสร็จพิธีหมั้น หลังจากนี้จะมีการเลี้ยงกัน โดยฝ่ายหญิงจะเป็นผู้จัดเลี้ยงให้ก็ได้ ถือว่เป็นการฉลองการหมั้น หรือจะไม่มีเลี้ยงก็ได้ เสร็จพิธีแล้วฝ่ายชายก็จะลากลับ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือขั้นตอนของพิธีการหมั้นอันงดงามแบบไทย

          ปัจจุบันพิธีหมั้นนิยมจัดควบคู่กับพิธีสู่ขอ จึงมักจะตัดขั้นตอนขันหมากออกไป เหลือเพียงการนำสินสอดของหมั้นมาหมั้นฝ่ายหญิง และมีการเลี้ยงฉลองกันในหมู่ญาติ และอาจจัดก่อนหรือจัดในช่วงเช้าของวันแต่งงาน สำหรับคู่ที่ตัดสินใจหมั้นแล้วแต่งเลย การเตรียมงานจะทำควบคู่กันไปถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด แต่หากตัดสินใจหมั้นหมายกันไว้ก่อน ควรมีการเตรียมการล่วงหน้า 2 – 3 เดือน เพื่องานที่สมบูรณ์แบบ


เรื่องราวผู้หญิง ความสวยความงาม แฟชั่น ความรัก มากมาย คลิกเลย 
 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รักมั่น...จะหมั้นหมาย อัปเดตล่าสุด 27 มิถุนายน 2554 เวลา 11:56:09 1,516 อ่าน
TOP